นายกรวิชญ์ บุญประเสริฐ

ธนาคารปูม้า คล้ายกับการฝากเงิน - ถอนเงินของธนาคารพาณิชย์ เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นการรับฝากแม่ปูแทนเงิน ส่วนดอกเบี้ยก็คือลูกปูที่ปล่อยลงทะเลเพื่อให้เติบใหญ่แล้วจับขึ้นมาขายเป็นรายได้ของชาวประมง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งธนาคารปูม้าเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งเ

นายกรวิชญ์ บุญประเสริฐ

ประวัติความเป็นมา

ธนาคารปูม้า คล้ายกับการฝากเงิน - ถอนเงินของธนาคารพาณิชย์ เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นการรับฝากแม่ปูแทนเงิน ส่วนดอกเบี้ยก็คือลูกปูที่ปล่อยลงทะเลเพื่อให้เติบใหญ่แล้วจับขึ้นมาขายเป็นรายได้ของชาวประมง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งธนาคารปูม้าเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งเสื่อมโทรม พันธุ์ปูม้ามีจำนวนลดน้อยลง สาเหตุมาจากการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลาย เช่น ลอบปู ใช้อวนตาถี่ขนาดเล็กกว่า ๑ นิ้ว เครื่องมือประมงเหล่านี้ทำลายวงจรชีวิตของปูม้า ปูยังไม่ทันโตขนาดกระดองไม่ถึงฝ่ามือก็ถูกจับไปขายและก็ไม่ได้ราคา พวกเรืออวนลาก อวนรุน นอกจากทำลายวงจรชีวิตปูม้าแล้ว ยังทำลายห่วงโซ่อาหารแหล่งอาหารของปูม้า เพราะได้กวาดเอาทั้งสาหร่าย หอยกระพัง หอยกระพุงไปด้วย “ธนาคารปูม้า” ของกลุ่มรักษ์ทะเล เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อเพิ่มจำนวนปูม้าที่มีอยู่ในทะเลบริเวณนั้น และเป็นการสร้างรายได้ของชาวประมงควบคู่กับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ


รายละเอียดเพิ่มเติม

ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพจับปูม้า แต่ประสบปัญหาการลดลงของจำนวนปูม้าตามธรรมชาติ จึงคิดหาแนวทางอนุรักษ์ไปพร้อมกับการเพิ่มปริมาณของปูม้า โดยการจัดหาถังใส่น้ำพร้อมเครื่องให้ออกซิเจน รับฝากแม่ปูที่มีไข่นอกกระดอง ของชาวประมงที่จับได้ไว้ก่อน และนำมาเพาะตัวอ่อน โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนและข้อมูลทางวิชาการจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และบริษัท INTOUCH เข้าร่วมทำโครงการ“ปลูกป่า รักษาแหล่งน้ำกับอินทัช” ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของปูม้า การจับปูม้าอย่างถูกวิธี และการอนุรักษ์ปูม้า ให้แก่คนในชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน ๑๐ แห่ง


กิจกรรมที่ดำเนินงาน

๑) เมื่อได้ปูไข่จากชาวบ้านในตอนเช้า ซึ่งเป็นเวลาที่เรือหาปูกลับเข้าฝั่งในช่วงเดือน ต.ค. – พ.ย. จะพบปูมากเนื่องจากเป็นฤดูวางไข่ แม่ปูม้าที่มีไข่สีดำจะเหมาะสมที่สุดเนื่องจากไข่แก่เต็มที่แล้ว ถ้ามีไข่สีส้มแสดงว่าเป็นไข่ที่พัฒนายังไม่สมบูรณ์ ต้องใช้เวลาอีก ๔-๕ วัน ๒) นำแม่ปูม้าที่มีไข่นอกกระดองใส่ถังน้ำทะเล และให้ออกซิเจน โดยขังไว้ ๑ คืน แม่ปูก็จะเขี่ยไข่ออกจากกระดองในตอนกลางคืนในช่วงเวลา ๐๓.๐๐ - ๐๔.๐๐ น. ๓) นำแม่ปูออกในตอนเช้าส่วนไข่ของปูที่ได้ก็ให้ออกซิเจนในถังเพื่อรอเอาไปปล่อยกลับสู่ทะเล ในช่วงเวลาเย็นในตอนน้ำขึ้น ส่วนแม่ปูที่ปล่อยไข่ออกจากท้องหมดแล้ว ก็จะนำไปจำหน่ายแล้วนำเงินที่ได้ฝากเข้ากองทุนธนาคารปูม้า หรือปล่อยลงสู่ทะเลเช่นเดิม

จากการดำเนินงานกลุ่มรักษ์ทะเลตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า ๓,๐๐๐ คน ทั้งนักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้นจากเดิมมีอยู่ ๒ กิโลเมตร ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น ๓-๔ กิโลเมตร ตลอดแนวชายฝั่ง มีการสำรวจพบจำนวนประชากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลา ปูม้า ปูแสม หอย และกุ้ง มีทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย กระจายทั่วบริเวณป่าชายเลนที่มีร่มเงาแล้ว ระบบนิเวศมีความสมดุล โดยสำรวจพบนกทะเลหลายชนิดเข้ามาอาศัยและหากินในป่า และสัตว์น้ำขึ้นมาวางไข่ การทำประมงพื้นบ้านสามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น ปัจจุบันหาดแหลมแม่นกแก้วกำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการสนับสนุนของจังหวัดจันทบุรีและองค์กรท้องถิ่น ปัจจุบันชาวบ้านสามารถจับได้ ๒๐ – ๓๐ กิโลกรัมต่อลอบ ๓๐๐ ลูก เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๒ ที่จับได้ประมาณ ๑๗ กก. / ลอบ ๓๐๐ ลูก สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ประกอบอาชีพจับปูม้าขายมีรายได้ประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน


เคล็ดลับความสำเร็จ

การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะต้องไม่ส่งผลกระทบด้านลบกับอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้าน คืออาชีพประมงชายฝั่ง ชาวบ้านต้องสามารถจับสัตว์น้ำได้เช่นเดิม แต่จะต้องมีการจัดระเบียบและวางแผนการจัดการอย่างเหมาะสม คือ การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำตามที่กรมประมงกำหนด และห้ามใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่มีลักษณะทำลายสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น คราดหอย อวนตาถี่มากกว่า ๑ นิ้ว โพงพาง และอวนรุน เป็นต้น


คติประจำใจ

หัวใจสำคัญของการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลนและการทำธนาคารปูม้า ของคุณกรวิชญ์ คือ ต้องมีใจรักในสิ่งที่ตัวเองทำ เมื่อทำแล้วต้องทำให้ดีที่สุด ไม่หวังผลตอบแทน ต้องหาความรู้เพิ่มเติมให้กับตัวเองตลอดเวลาหรือหาวิธีใหม่ๆ จากการค้นคว้าด้วยตัวเองขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน


ปัญหาและแนวทางแก้ไข


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

นายกรวิชญ์ บุญประเสริฐ
บ้านเลขที่ ๑๐/๖ หมู่ ๑๐ ต.ช้างข้าม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี
โทรศัพท์ ๐๘๑-๑๕๓ ๗๕๘๐

บทความอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ