เกษตรกรยุคใหม่ สู่การรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน

“ต้องนึกถึงว่าทำงานร่วมกันนั้นต้องทำอะไรบ้าง มีคุณสมบัติอะไรบ้าง คุณสมบัติสำคัญก็คือ ความเผื่อแผ่ให้แก่กัน ซึ่งเรียกกันว่าสามัคคี อีกอย่างหนึ่งก็คือ ใช้ความรู้ความสามารถนั้นมาเผื่อแผ่ มาช่วยกัน ทำคนเดียวยาก แต่ถ้าร่วมกันทำ งานนั้นจะง่ายขึ้นและมีผลที่มั่นคงยิ่งขึ้น แต่ในการทำงานร่วมกัน ต้องมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญจะต้องมีความสุจริต...”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นประจักษ์โดยชัดเจนว่า ทรงมุ่งมั่นที่จะยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตั้งแต่ปัจเจกบุคคลหรือระดับครัวเรือน และยกระดับไปสู่การรวมกลุ่มในระดับชุมชนระดับประเทศ ให้พึ่งพาตนเองได้ อย่างสมดุลมั่นคงและยั่งยืน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงประกาศเป็นครั้งแรก เมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2517 ความตอนหนึ่งว่า “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”

“ทฤษฎีใหม่”แนวทางปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงระบุถึงขั้นตอน การพัฒนาเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น เพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรในระดับครัวเรือนให้มีผลผลิตเพียงพอต่อการยังชีพได้ตลอดปีในเบื้องต้น และจำหน่ายผลผลิตส่วนเกินเป็นรายได้ เมื่อมีความพอเพียงและมั่นคงขั้นพื้นฐานระดับหนึ่งแล้ว จึงก้าวเข้าสู่ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลางที่จะเป็นการรวมกลุ่มเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือวิสาหกิจ เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกลุ่มโดยรวม บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือกันตามกำลังและความสามารถของตน การรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จจะนำไปสู่ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในระดับประเทศ เช่น ธนาคาร บริษัทธุรกิจ เพื่อยกระดับการทำธุรกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มั่นคง ยั่งยืน

เพื่อสืบสานแนวพระราชดำรินี้ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จึงจัดทำโครงการศึกษา วิจัยการพัฒนาอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริเพื่อสังเคราะห์แนวคิด หลักทฤษฎี ปัจจัยความเชื่อมโยงปัจจัยความสำเร็จ และเงื่อนไขต่างๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จ และเงื่อนไขต่างๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ซึ่งจะมีการจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการองค์ความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเชิงปฏิบัติ และต่อเนื่องด้วยงานวิจัยในโครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนได้รูปแบบการปฏิบัติในการพัฒนาครัวเรือนและชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการรวมกลุ่ม เพื่อการพัฒนาครัวเรือนเข้มแข็งสู่การรวมกลุ่มที่มีความมั่นคงยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งสรุปเป็นแนวปฏิบัติสำหรับกลุ่มและหน่วยงานสนับสนุนได้เป็นบันได 7 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ทำไมต้องรวมกลุ่ม

เพราะสารพันปัญหารุมเร้า ขายผลผลิตไม่ได้ราคา เกิดภัยพิบัติ โรคภัยคุกคาม สุขภาพเสื่อมโทรม ฯลฯ

ขั้นที่ 2 สิทธิกับหน้าที่ต้องมาด้วยกัน

ทำความเข้าใจให้ดี แล้วตกลงกันให้ชัดเจนว่า สิทธิและหน้าที่ต้องมาด้วยกัน

ขั้นที่ 3 ร่วมคิดร่วมทำ

ร่วมกันคิด ร่วมกันทำในทุกเรื่อง ตั้งแต่กำหนดข้อบังคับของกลุ่ม ไปจนถึงการผลิตสินค้า คิดต้นทุน ทำบัญชี ดูแลจัดเก็บสินค้าหรือผลผลิต

ขั้นที่ 4 แข่งขันให้ได้ในตลาด

ช่วยกันหาทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตช่องทางการขาย และวิธีการลดต้นทุน

ขั้นที่ 5 มีสิทธิมีเสียง

กระตุ้นให้สมาชิกทุกคน มาร่วมใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมทุกครั้งและทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นหนทางแก้ปัญหาหรือให้ความรู้ใหม่ๆ กับสมาชิก

ขั้นที่ 6 ข้อมูลดีมีความรู้

เก็บรวบรวมข้อมูลทุกด้านไม่ว่าการผลิตการขาย และความรู้จากคนเก่งๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแผนการผลิต แผนการขาย การใช้จ่าย และการทำงานของกลุ่ม

ขั้นที่ 7 แสวงหาพันธมิตรรอบตัว

ร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและกลุ่มอื่นๆ เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งเงินทุนมาพัฒนาสินค้าและขยายตลาด


อนิเมชั่นแนวทางการร่วมกลุ่มอย่างยั่งยืน 4 ตอน

ตอนที่ 1
เผชิญหน้าฝ่าทุกข์ร่วมกัน

ตอนที่ 2
รวมพลังสร้างอนาคต

ตอนที่ 3
จับมือกันไว้ไปด้วยกัน

ตอนที่ 1
ชัยชนะของเหล่านักสู้


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ