ชาวปกากะญอ 4 หมู่บ้านในตำบลแก่นมะกรูด ซึ่งเป็นพื้นที่กันชนกับป่าห้วยขาแข้ง ดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาพืชเชิงเดี่ยว ที่ต้องอาศัยนายทุนตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และรถไถ ทำให้ดินเสื่อมสภาพต้องใช้สารเคมีมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งขาดแคลนน้ำทั้งเพื่ออุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ มีหนี้สิน ขณะที่ป่าห้วยขาแข้งก็ถูกคุกคามจากการบุกรุกแผ้วถาง
เมื่อชาวบ้านพร้อมลงมือพัฒนาด้วยตนเอง การพัฒนาก็เริ่มขึ้นด้วยการสอบแนวเขตที่ดินทำกิน พัฒนาระบบน้ำ พัฒนาด้านการเกษตรและส่งเสริมอาชีพด้วยเกษตรทางเลือก ปรับเปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสานและไม้ผลเศรษฐกิจ ด้วยพืชเมืองหนาว เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ฯลฯ และรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกร นำมาสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม