โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพตามศาสตร์พระราชา

โครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเพิ่มมูลค่า

           เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงและสร้างเสริมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติจากการทำเกษตรแบบเดิมเป็นเกษตรประณีตเพื่อรายได้ที่มั่นคง และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเป้าหมาย ด้วยการยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยชุมชน ตามหลักปฏิบัติวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายเกษตรกร

           การดำเนินงานภายใต้โครงการทุเรียนคุณภาพ เป็นการส่งเสริม พัฒนาความรู้และทักษะให้เกษตรกรผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสและรายได้ในการจำหน่ายสินค้าให้ได้มากขึ้น

กระบวนการทำงาน

  1. พัฒนาศักยภาพประชาชนในพื้นที่ ทั้งอาสาทุเรียนและเกษตรกรในโครงการ
  2. แก้ปัญหาปัจจัยการผลิตพื้นฐาน (น้ำ ดิน ปุ๋ย ฮอร์โมน)
  3. ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับพหุวัฒนธรรม
  4. บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  5. เพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเชื่อมโยงตลาด
  6. ส่งเสริมการรวมกลุ่มที่ชุมชนบริหารจัดการกันเอง

ผลการดำเนินงาน

  1. เกษตรกรได้รับการสนับสนุนระบบน้ำ 136 ราย พื้นที่ 330 ไร่
  2. เกษตรกรร้อยละ 80 ของเกษตรกรในโครงการ (451 ราย) มีความรู้ พัฒนาทักษะและวิธีปฏิบัติทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี
  3. มีครูภูมิปัญญาที่สามารถถ่ายทอดความรู้การผลิตไปสู่การขยายผลได้ 25 ราย
  4. เกิดกองทุนปัจจัยการผลิต ให้ยืมปัจจัยการผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงต้นทุเรียนและวัสดุอุปกรณ์ในการดูแล แปลง เพื่อแก้ไขปัญหาเงินทุนด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตให้ได้คุณภาพ มีสมาชิก 564 ราย
  5. มีกระบวนการตรวจติดตามแปลงผลิตทุเรียนคุณภาพแบบรายแปลงเพื่อติดตามความก้าวหน้าการผลิตตามคู่มือการปฏิบัติดูแลทุเรียนฯ
  6. ผลผลิตทุเรียนเพิ่มจาก 800 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1,150 กิโลกรัมต่อไร่ ทุเรียนคุณภาพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 67
  7. มีเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP 499 ราย
  8. มีระบบฐานข้อมูลโครงการทุเรียนคุณภาพแบบออนไลน์ Monthong App เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเกษตรกรและผลผลิต
  9. มีจุดรวบรวมและกระจายผลผลิต
  10. ผลผลิตนำส่งจำหน่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนและตลาด Modern Trade
  11. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
  12. รายได้เปรียบเทียบ

    ปี 2562 (664 ครัวเรือน) รายได้รวม 96,967,515 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 146,035 บาท

    ปี 2563 (645 ครัวเรือน) รายได้รวม 140,981,073 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 218,575 บาท

    ปี 2564 (564 ครัวเรือน) รายได้รวม 11,642,956 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 206,435 บาท

    ปี 2565 (270 ครัวเรือน) รายได้รวม 45,309,866 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 254,550 บาท

  13. เกิดการรวมกลุ่มการผลิตไม้ผลคุณภาพ (ทุเรียน) ที่บริหารจัดการตั้งแต่การผลิต รวบรวมและกระจายผลผลิต 20 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้

สื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่

คลิปความรู้การดูแลทุเรียนคุณภาพ ๔ ระยะ

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และการทำใบสะสมอาหารก่อนออกดอก

การชักนำตาดอก การดูแลระยะดอก และการผสมเกสร

การจัดการทุเรียนในระยะผล ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

การเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อจำหน่าย


คลิปสารคดี “สู้เพื่อรอด” 4 ตอน

ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้น

ตอนที่ 2 สิทธิ์และหน้าที่

ตอนที่ ๓ ความสามัคคี

ตอนที่ 3 ไม่สู้เพียงลำพัง


น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ