“จักรี วัตธูป” ต่อยอดการตลาด รู้เขา พัฒนาเรา ขายร้อยครั้ง กำไรทุกครั้ง

     “การทำการเกษตรในยุคนี้หากจะอยู่รอดได้ ต้องทำการตลาดด้วยตนเองควบคู่กัน รวมไปถึงเอาใจใส่ด้านการบรรจุผลิตภัณฑ์ให้ดีและดูแลผลผลิตให้มีคุณภาพ ต่อยอดให้เป็น ก็จะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน”




    คุณจักรี วัตธูป หรือ เบียร์ เกษตรกรหมู่ 4 บ้านอีทราย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อดีตเป็นมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพ จนปี 2555 หลังภรรยาตั้งท้องลูกคนแรก จึงย้ายกลับมายังบ้านเกิด ด้วยความมุ่งมั่นที่จะกลับมาทำอาชีพเกษตรเต็มขั้น แม้พื้นเพดั้งเดิมพ่อแม่มีอาชีพทำนา แต่ที่ผ่านมาลงมือทำตามคำสั่งตลอด ครั้นถึงเวลาหันมายึดอาชีพเกษตร ที่ในความคิดดูเหมือนจะง่าย แต่เมื่อลงมือทำจริง กลับมีปัญหามากมาย โชคดีที่มีญาติและเพื่อนบ้านช่วยเหลือพร้อมพร้อมกับชักชวนให้เข้าร่วมโครงการปิดทองหลังพระฯ ทำให้เบียร์มีกำลังใจที่จะสู้กับชีวิตเกษตรกรอีกครั้ง

    เพียงไม่นาน พื้นที่ 4 ไร่ ที่เคยปล่อยให้รกร้าง ก็กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เริ่มต้นจาก ปรับพื้นที่เพื่อปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ที่ได้รับความสนใจจากเพื่อนบ้านในการรับผลผลิตไปขาย เนื่องจากเป็นพืชตัวใหม่ที่ยังไม่มีใครนำมาปลูกและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี กระทั่งปิดทองหลังพระฯเข้ามาแนะนำให้ชาวบ้านรวมกลุ่มทำการเกษตร และสำรวจแต่ละครัวเรือนของสมาชิกทั้งปัญหา อุปสรรค รวมถึงความต้องการในการประกอบอาชีพพร้อมทั้งให้คำแนะนำ พาไปศึกษาดูงานเกษตรพื้นที่อื่น และพบว่าพื้นที่แก่นมะกรูดมีความเหมาะสมในการปลูกสตรอเบอรี่ ปิดทองหลังพระฯ จึงสนับสนุนพันธุ์สตอเบอร์รี่ให้เกษตรกรนำไปปลูก และนำนักวิชาการเข้ามาอบรมรายละเอียด พร้อมกับพาไปดูงานพื้นอื่นด้วย



    แรกๆยังสงสัยว่าสภาพพื้นที่บ้านอีทราย จะปลูกสตอเบอร์รี่ได้จริงหรือ ปีแรกจึงปรับพื้นที่แค่ 200 ตารางเมตร ทดลองปลูกสตอร์เบอร์รี่ 500 ต้น ระยะเวลา 135 วัน ทำเงินได้มากถึง 60,000 บาท ปีต่อมาจึงปรับพื้นที่เพิ่ม ทำแปลงสตอเบอร์รี่ลงไหล (ต้นกล้า) จำนวน 3,000 ต้น แต่สตอเบอร์รี่เป็นพืชอายุสั้น จึงปรับพื้นที่ปลูกกล้วย อโวคาโด มะพร้าว ขนุน ไผ่หวาน ที่หน่วยงานต่างๆ สนับสนุน ให้ซึ่งได้ผลตอบรับจากตลาดดีมาก”



    คุณเบียร์ บอกต่อว่า แม้ชุมชนจะเริ่มมีรายได้จากการผลผลิตแล้ว แต่เมื่อต่างคนต่างปลูกและแยกขาย บางครั้งทำให้เกิดปัญหาหลายด้าน ปิดทองหลังพระฯ จึงเข้ามาเปลี่ยนวิถีการเกษตรของชุมชมใหม่ โดยเริ่มจากการรวมกลุ่ม เพื่อง่ายต่อการจัดการให้ไปในทิศทางเดียวกัน สำรวจศักยภาพแต่ละคนว่าเหมาะสมปลูกพืชไม้ผลชนิดไหน จากนั้นร่วมกับหน่วยงานต่างๆสนับสนุนพันธุ์พืช ทั้งกล้วย อโวคาโด มะพร้าว ขนุน ไผ่หวาน ให้เกษตรกรในกลุ่มปลูก เพื่อต้องการให้ชาวบ้านทำเกษตรผสมผสานร่วมด้วย และช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการจัดการ จนกระทั่งผลผลิตสามารถขายได้ หากรายไหนติดขัดเรื่องตลาด จะคอยแนะนำ ดึงตลาดเข้ามา แล้วให้ชาวบ้านตกลงซื้อขายกันเอง แม้มีผลผลิตจำนวนน้อยเมื่อนำมารวมกันทำให้ขายได้หมดและได้ราคาที่ดีด้วย


    เบียร์กล่าวต่ออีกว่า แม้ปิดทองจะประสานตลาดให้กับทางกลุ่ม แต่ก็ต้องคิดว่า หากวันหนึ่งปิดทองหลังพระฯออกไปจากพื้นที่แล้วเราจะทำยังไง เลยเริ่มศึกษาต่อยอดจากตลาดเดิมที่ปิดทองหลังพระฯเชื่อมโยงให้และออกหาตลาดเอง ทำให้ได้เรียนรู้ว่าช่วงไหนตลาดต้องการอะไร  ควรแพคบรรจุยังไงผลผลิตจึงมีคุณภาพน่าซื้อหา ซึ่งแตกต่างจากการรอพ่อค้าคนกลางที่เวลารับซื้อผลผลิต เขาตีราคาให้เท่าไรก็ต้องยอม ทั้งๆ ที่ราคาพืชผักในแต่ละวันจะขึ้นลงตลอด ตลาดแต่ละที่มีการแข่งขันเลือกซื้อ ให้ราคาแตกต่างกันไป ถ้าเราไม่เข้าไปหาตลาดก็จะไม่รู้ว่าแต่ละที่ต้องการสินค้าแบบไหน แพคบรรจุยังไงถึงได้ราคาดี ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราได้เปรียบในการขายอย่างมาก


    เมื่อเริ่มมีความเข้มแข็งในการหาตลาดเองแล้ว ทำให้ทุกวันนี้ เบียร์เป็นเกษตรกรที่เป็นทั้งผู้ผลิตและรวบรวมนำสินค้าส่งตลาด ทั้งยังคอยแนะนำให้คนในชุมชนแพคบรรจุสินค้าให้สวยงามตรงตามความต้องการของตลาด ส่วนเกษตรกรรายไหนมีผลผลิตแม้จำนวนน้อย แต่เมื่อนำมารวมกลุ่มกันแล้วได้จำนวนเยอะ ก็สามารถไปขายได้จนหมด ซึ่งถ้าเกษตรกรในกลุ่มสามารถต่อยอดจากตรงนี้และขยายตลาดไปได้แล้ว


ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ