ดร.วิรไทแนะไทยพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ใช้ผลกระทบจากโควิดสร้างความเข้มแข็งในชนบท

     วิกฤตโควิดในครั้งนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยหลายล้านคนจากในเมืองกลับสู่ชนบทเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะแรงงานจากภาคบริการ เหตุการณ์เช่นนี้ตรงกันข้ามกับช่วงหลังจากที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปีพ.ศ. 2540 ที่เกิดการย้ายถิ่นของแรงงานจากชนบทเข้าเมืองจำนวนมาก ทำให้ภาคชนบทอ่อนแอเนื่องจากมีเพียงแรงงานผู้สูงอายุและเด็ก ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพต่ำ เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้รายสูงระหว่างเมืองหลักและเมืองรอง
    ดังนั้น ไทยควรจะหาทางสนับสนุนให้แรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ชนบทจากผลกระทบของวิกฤตโควิดในครั้งนี้ ให้สามารถคงอยู่ในชนบทได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน เพราะแรงงานที่กลับไปเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ และรู้จักใช้เทคโนโลยี 
    ทั้งนี้ ดร.วิรไทกล่าวว่า ประเทศไทยสามารถสร้างความเข้มแข็งให้ชนบทได้ ด้วยการให้ความสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาครัฐในส่วนท้องถิ่นในการทำงานพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทในเชิงพื้นที่และควรเป็นการพัฒนาทั้งภาคการเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมควบคู่กันไปอย่างเกื้อหนุนกัน และรัฐท้องถิ่นภาคประชาสังคมเช่นมูลนิธิปิดทองหลังพระควรร่วมกันทำงานเพื่อสนับสนุนให้แรงงานที่กลับไปยังชนบทเป็น change agent ที่จะช่วยสร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้ประเทศได้ในอนาคต
    นอกจากนี้ยังควรสนับสนุนให้มีการศึกษาที่เหมาะสมในภาวะวิกฤตและในอนาคต เพราะประชาชนต้องการการ reskill และ upskill ให้สอดคล้องกับบริบทของโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป รัฐควรช่วย "อำนวยให้ประชาชนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต" ดร.วิรไทกล่าว
ดร.วิรไท เน้นย้ำว่าประชาชนไทยควรเปลี่ยน mindset จากความคิดพึ่งพาภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว เช่น การเยียวยาจากภาครัฐในวิกฤตโควิดเป็นสิ่งสำคัญในช่วงแรก ๆ ทว่าอาจจะไม่สามารถทำได้อย่างเหมาะสมเมื่อวิกฤตดังกล่าวผ่านมาถึง 2 ปีแล้ว ทั้งนี้ รัฐสามารถสนับสนุนให้ประชาชนเริ่มพึ่งตนเองได้ด้วยการเน้นการกระจายอำนาจและให้อำนาจในการตัดสินใจไปอยู่ในมือของท้องถิ่นประชาชนเองมากขึ้น
    โดยดร.วิรไทอธิบายเพิ่มเติมว่า จากการที่ตนทำงานร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ใดที่ประชาชนมีความเข้มแข็งก็จะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนา และหากได้รับการสนับสนุนที่ตรงจุด ตรงตามความต้องการของพื้นที่ โดยเฉพาะจากภาครัฐในระดับท้องถิ่น ก็จะทำให้การพัฒนานั้นสำเร็จลุล่วง
    ดร.วิรไทกล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤตต่างๆมาได้ในอดีตจากการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องความพอเพียงที่มีหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล การมีภูมิคุ้มกัน และการตั้งอยู่บนฐานของคุณธรรม มีความอดทน มีวิริยะอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และการมีความรู้ และวิกฤตโควิดในครั้งนี้ทำให้ประชาชนไทยเห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นถึงความสำคัญของการ "สร้างภูมิคุ้มกัน" เพื่อให้อยู่รอดท่ามกลางโลกใหม่ที่มีความผันผวนสูง

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ