โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว

พื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระ โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจนกว่าร้อยละ 81 ผู้ว่าเพชรบุรียืนยัน จับมือ ปิดทอง มรภ.เพชรบุรี พร้อมพัฒนาต่อยอดชุมชนให้เป็น Social Lab ในอนาคต

ปิดทองหลังพระ ร่วมกับ จังหวัดเพชรบุรี ประชุมคณะทำงานบูรณาการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาชนบท เชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ บ้านโป่งลึก-บางกลอย โดยนายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานการประชุม

นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ได้กล่าวสรุปโครงการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ ตามพระราชดำริ บ้านโป่งลึก-บางกลอย จังหวัดเพชรบุรี ว่า จากการ ดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2555 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตทางการเกษตรต่ำ มีข้าวและแหล่งอาหารไม่เพียงพอการบริโภคในครัวเรือน ส่งผลให้เกิดการบุกรุกทำลายป่า ล่าสัตว์ป่าเพื่อการดำชีวิตนั้น

ซึ่งหลังจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ ทำให้ราษฎรมีน้ำอุปโภค-บริโภคทุกครัวเรือน และ มีน้ำทำการเกษตรในพื้นที่ 606 ไร่ 143 ราย คิดเป็นร้อยละ 63 ของพื้นที่การเกษตร ผลจากการพัฒนาระบบน้ำ และส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถสร้างรายได้ภาคการเกษตร ให้แก่ครัวเรือนที่ร่วมโครงการเพิ่มขึ้น จากเดิมในปี 2555 รายได้เฉลี่ย 6,842 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มเป็น 54,407 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 8 เท่า ทั้งนี้ชาวบ้านโป่งลึก-บางกลอย ยัง พ้นเส้นความยากจนจากร้อยละ 2.78 เป็นร้อยละ 81 และเกิดกลุ่มกองทุน ในชุมชนกว่า 14 กลุ่ม พร้อมการเชื่่อม โยงความรู้ เทคโนโลยี และแหล่งทุนจากภายนอกสู่ชุมชน โดยการประชุมในครั้งนี้ ก็เพื่อให้คณะทำงานเห็นข้อมูลที่แท้จริงในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลชุดนี้ใช้บูรณาการการทำงานร่วมกันต่อไป

ด้านนายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวว่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ บ้านโป่งลึก-บางกลอยนั้น จังหวัดเพชรบุรี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการการทำงานร่วมกับปิดทองหลังพระอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน จนชุมชนมีความแข็งแกร่งนั้น

ซึ่งจากผลการประเมินตามตัวชี้วัดการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม ปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำรินั้น เพชรบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดต้นแบบ ที่ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์ ที่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ชาวบ้าน ให้พ้นความเดือดร้อนได้ และพร้อมที่จะส่งมอบการพัฒนา ให้แก่หมู่บ้านได้บริหารจัดการตนเองร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ภายในปี 2565 โดยเห็นชอบแนวทางการส่งมอบ และทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่าง จังหวัดเพชรบุรี ปิดทองหลังพระฯและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนตามแนวทางการส่งมอบ ซึ่งจะพัฒนาต่อยอดใช้พื้นที่โป่งลึก-บางกลอย ให้เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็น แหล่งเรียนรู้ของหน่วยงาน หรือบุคคลภายนอก และจะช่วยสร้างศักยภาพความเข้มแข็งของชาว บ้านโป่งลึก-บางกลอย ให้มีศักยภาพและคุณ ภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างยั่งยืน

โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
โป่งลึก-บางกลอย พ้นเกณฑ์ความยากจน พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็น Social Labด้านธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ