[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น

“โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วยซ้อ หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น” เป็นโครงการที่เรียกสั้นๆว่า “โควิด ปิดทองหลังพระ”ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยให้พี่น้องเกษตรกร 52 ครัวเรือน ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมการเกษตรหลังจากเพิ่มศักยภาพระบบน้ำแล้ว โดยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้มากถึง 936,000 บาทต่อปี เลยทีเดียว มาดูกันว่าโครงการนี้เป็นอย่างไร

บ้านห้วยซ้อ ก็มีสภาพพื้นที่เหมือนกับบ้านอื่นๆ ในพื้นที่ชนบททั่วไปในแถบภาคอีสาน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา จะมีรับจ้างทั่วไปบ้างแต่ก็ไม่มาก และก็มีอ่างเก็บน้ำสาธารณะประจำหมู่บ้านที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อ่างเก็บน้ำห้วยซ้อมีความจุเต็มศักยภาพ 62,000 ลบ.ม. แต่ปัจจุบันความจุได้หายลงไปกว่าครึ่ง เนื่องจากการทับทมของตะกอนดิน จึงเหลือความจุเพียง 30,000 ลบ.ม. แต่ก็ยังคงเป็นแหล่งน้ำหลักให้ชาวบ้านห้วยซ้อ 251 ครัวเรือน ไว้กินไว้ใช้ผ่านระบบประปาหมู่บ้านเป็นหลัก แต่นำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ทำไมน้ำในอ่างเก็บน้ำบ้านห้วยซ้อมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ไม่เต็มที่ ก็เป็นเพราะว่าขาดระบบกระจายน้ำเข้าสู่แปลเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกษตรกรจะต้องออกแรงไปหาบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อมารดพืช รดผัก ซึ่งทำได้แค่เพียงพื้นที่ 4 ไร่ บริเวรรอบๆ อ่างเก็บน้ำเท่านั้นเอง และก็บ่นปวดหลัง ปวดเอวมาโดยตลอด

มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ จึงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในรูปแบบสี่ประสาน เพื่อก่อให้เกิดสามประโยชน์ คือ เกิดระบบกระจายน้ำเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเกษตรกร เกิดธุรกิจใหม่ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาดและเกิดความรู้เพื่อให้ท้องถิ่นและชุมชนพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

“โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วยซ้อ หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น”” จึงเป็นการซ่อมแซมและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด เริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานน้ำเพื่อการเกษตร โดยติดตั้งระบบสูบน้ำแบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำขึ้นไปเก็บในหอถังสูง 15 เมตร มีถัง PVC ขนาด 5,000 ลิตร จำนวน 4 ถัง และติดตั้งระบบท่อเพื่อกระจายน้ำ 20,000 ลิตร ออกสู่แปลงเกษตรของเกษตรกรหมู่ 5 และหมู่ 9 จำนวน 52 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ได้ 16 ไร่ เมื่อรวมกับพื้นที่เดิม 4 ไร่แล้ว มีพื้นรับประโยชน์ทั้งหมด 20 ไร่

มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าวัสดุ อุปกรณ์ หิน ปูน ทราย ท่อ ตามแบบ ปร.4 ปร.5 เป็นจำนวนเงิน 355,000 บาท มีช่างงานเทคนิค ช่างงานหอถัง ทีมติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ชาวบ้านผู้รับประโยชน์ และพนักงานประสานงานโครงการและอาสาสมัครพัฒนาโครงการฯ ที่ปิดทองหลังพระฯ จ้างผู้ว่างงาน/ตกงานจากผลกระทบโควิด-19 ให้มาประสานงานโครงการและเชื่อมโยงสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ให้ทำงานร่วมกัน สอดคล้องกันตามแผนงานและระยะเวลาที่กำหนดไว้ มีการดำนเนินการร่วมกัน อาทิ การวางแผนงาน การเตรียมความพร้อมหน้างาน(งานปรับพื้นที่) การส่งมอบและตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ตามแบบ ปร.4 ปร.5 การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ การทำฐานและขึ้นโครงสร้างหอถึง การติดตั้งถัง PVC และการทำระบบกระจายน้ำต่อท่อสู่แปลงเกษตร เป็นต้น

โครงการแล้วเสร็จเมื่อเดือน มิถุนายน 2563 ใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 17 วัน ซึ่งได้มีการประชาคมชาวบ้านต่อถึงกิจกรรมทางเกษตรหลังจากมีระบบน้ำแล้ว โดยนำแนวพระราชดำริหลักเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ จัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษและทำเกษตรแปลงรวมขนาด 4 ไร่ สำหรับปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคลดค่าใช้จ่าย หากเหลือแล้วจึงแบ่งขาย เช่น ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งกะหล่ำปี เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาต่อยอดเสริมความรู้การทำเกษตรให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีมาตรฐาน มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่และตลาดภายนอกด้วย

ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 10 เดือน เกษตรกร 52 ครัวเรือน มีรายได้จากการขายพืชผักและผักแปรรูป(ส้มผัก)เพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 78,000 บาท หรือ 1,500 บาท/ครัวเรือน ซึ่งหากเกษตรกรสามารถทำผลผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีจะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงปีละ 936,000 บาท หรือ 18,000 บาท/ครัวเรือน นายวัชพงษ์ โวลา รองประธานกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ กล่าวว่า “โครงการนี้ดีมาก ช่วยทุ่นแรงชาวบ้านเกษตกรในพื้นที่ได้มากเลยทีเดียว จากที่ต้องไปหาบน้ำเอง ก็มีระบบโซล่าเซลล์มาช่วย มีระบบกระจายน้ำเข้าสู่แปลงเกษตรเพื่อปลูกพืชผักไว้กิน เหลือก็ขาย มีรายได้เพิ่มมากขึ้นและยังมีการต่อยอดกิจกรรมการเกษตรและให้ความรู้ต่อเนื่องอีก.. โน้น..บ้านอื่นๆ ใกล้เคียง เค้าก็อยากจะได้โครงการแบบนี้เหมือนกัน

ปัจจุบันเกษตรกรบ้านห้วยซ้อ หมู่5 หมู่9 หายปวดหลังปวดเอวแล้ว นอนดูน้ำไหลเขาสู่แปลงเกษตรอย่างสบายใจ

[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น
[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น
[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น
[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น
[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น
[บทความ] โครงการระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร บ้านห้วย จังหวัดขอนแก่น
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ