[บทความ] ปลูกผักสร้างรายได้ส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ

“ผักสามารถทำให้เขาได้เรียนต่อ สร้างอนาคตตัวเองได้” คือเสียงของนายลุกมาน มามะ ในฐานะครูพิเศษสอนประจำศูนย์ วิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส และประธานโครงการเกษตรเยาวชน Q-one บ้านกูเล็ง ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เขากล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะเห็นนักศึกษาในพื้นที่ส่วนมากยากจน บางครอบครัวอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย และบางรายเลือกที่จะไม่เรียนต่อ เนื่องจากทางครอบครัวไม่มีเงิน จ่ายค่าเล่าเรียน โดยเริ่มแรกโครงการนั้นเกิดจากการรวมตัวของเยาวชนเพื่อจัดตั้งเป็นชมรมจิตอาสา “จัดการขยะ” เน้นทำกิจกรรมไปรับขยะจากชาวบ้านในพื้นที่มาเพื่อขายเป็นรายได้ กระทั่งเยาวชนในกลุ่มเริ่มสนใจเกี่ยวกับการทำการเกษตร ส่วนตัวเคยมีโอกาสได้ร่วมงานเป็นอาสาพัฒนากับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ประมาณ 2 ปี จึงใช้ประสบการณ์ความรู้ด้านการเกษตรที่มีตรงนี้พาเยาวชนทำกิจกรรม และเกิดเป็นโครงการเกษตรเยาวชน Q-one ขึ้น คัดเฉพาะเยาวชนที่มีความยากจนจริงเข้าร่วมโครงการ ปัจจุบันเยาวชนในโครงการ 14 คน เน้นทำการเกษตรปลอดภัยในโรงเรือน ปลูกผักสลัด ผักสวนครัว ทำสวนผสมผสาน อาทิ ฝรั่งกิมจู ไผ่หวาน พริก กล้วย ผักบุ้ง แตงกวา ฯลฯ บนพื้นที่ 6 ไร่ ที่ได้รับการสนับสนุนมาจาก นาย อาซีซี มะสาแม จนสามารถสร้างอาชีพให้เยาวชนในโครงการ มีรายได้ ช่วยแบ่งเบาภาระจากครอบครัว และมีเงินทุนสำรองสำหรับการศึกษา ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อคน จากการจำหน่ายผักในโครงการ โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลและขายออนไลน์บนเฟสบุ๊ค พร้อมทั้งได้ให้องค์ความรู้ด้านการสร้างโรงเรือนเพื่อให้เยาวชนกลุ่มนี้ต่อยอดและสามารถรับงานด้านนี้ได้ในอนาคต

“ตอนนี้ปลูกสลัด เพราะมีตลาดรองรับ ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัมและเป็นราคานี้ตลอดแม้ช่วงนั้นราคาผักในตลาดทั่วไปจะขายที่ 50 บาท เพราะผักที่นี่เป็นผักปลอดสารจึงได้รับความนิยมและขายได้ต่อเนื่อง เด็กจึงมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5,000บาทต่อรอบ ความรู้สึกภูมิใจมากที่เห็นเขามีรายได้ ผักสามารถทำให้เขาได้เรียนต่อ สร้างอนาคตตัวเอง สามารถไปเป็นเป็นวิทยากรแทนผมบรรยายเรื่องการปลูกผักในโรงเรือนได้ ตอนนี้โครงการสามารถขยายเครือข่ายหลังจากเยาวชนพื้นที่อื่นมาศึกษาดูงานออกไปอีกกว่า 9 อำเภอ เอาไปทำเองที่บ้าน มีกรุ๊ปไลน์แลกเปลี่ยนข่าวสาร ปัญหาในการทำการเกษตร อนาคตตั้งใจจะขยายสมาชิกเพราะได้รับการบริจาคพื้นที่มาอีก 11 ไร่ จากนายอับดุลเลาะ เจ๊ะเลาะ คาดหวังให้เด็กคนอื่นๆได้รับโอกาสดีๆเพิ่มเติมต่อไปอีกเรื่อยๆ”

นางสาว ซามิลา สะมะแอ อายุ 19 ปี นักศึกษา ปวส.2 ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอยี่งอ วิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส กล่าวว่า ถ้าไม่มีกิจกรรมปลูกผักตรงนี้คงไม่ได้เรียนต่อและต้องไปหางานทำแล้ว รู้สึกท้อมาก แต่โชคดีที่อาจารย์แนะนำจึงมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการฯ และมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำเกษตรประณีต เรียนรู้กระบวนการปลูกผักตั้งแต่เตรียมดินจนถึงขั้นตอนเก็บขาย ส่วนตัวเลือกปลูกผักสลัด เพราะผู้บริโภคนิยมรับประทาน จากเดิมที่ไม่เคยมีรายได้เลย ตอนนี้มีรายได้ 9,000 บาทต่อเดือน โดยรายได้ส่วนหนึ่งแบ่งไว้ใช้ในครอบครัว และรายได้อีกส่วนหนึ่งไว้สำหรับผ่อนชำระค่าเทอม นอกจากนี้ยังได้นำองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่มีถ่ายทอดต่อไปยังน้องๆประถมศึกษา มัธยมศึกษาในพื้นที่อำเภอยี่งอด้วย ปัจจุบันถึงแม้จะเป็นช่วงปิดทอม แต่ก็แบ่งเวลามาดูแลแปลงผักสลัดร่วมกับเพื่อนอย่างต่อเนื่อง เพราะรู้สึกรักแปลงผักนี้ไปแล้ว ครอบภูมิใจในตัวเรา พ่อแม่สบายใจ อนาคตอยากแปรรูปผักสลัด ขายเป็นสลัดโรลหรือเมนูอื่นๆเพิ่มเติม อยู่ระหว่างศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และตั้งใจเก็บเงินเพื่อสร้างโรงเรือนผักสลัดของตัวเองที่บ้าน

ทั้งนี้มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้สนับสนุนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ให้กับสมาชิกในกลุ่ม โดยเดินทางไปศึกษาดูงาน โครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมเชิงปฏิบัติจริงกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรประณีต สำหรับ นำความรู้กลับมาพัฒนา ต่อยอดในด้านการปลูกผักให้ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวต่อไปในอนาคต

[บทความ] ปลูกผักสร้างรายได้ส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ
[บทความ] ปลูกผักสร้างรายได้ส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ
[บทความ] ปลูกผักสร้างรายได้ส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ
[บทความ] ปลูกผักสร้างรายได้ส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ
[บทความ] ปลูกผักสร้างรายได้ส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ