[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน

เกษตรกรผักโรงเรือนอุดร นำประสบการณ์และความรู้ มั่นใจปลูกผักเคล(kale) เพิ่มรายได้ เจาะตลาดกลุ่มผู้รักสุขภาพ

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ “โครงการปลูกผักในโรงเรือน” ในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ จ.อุดรธานี ที่เกษตรกรนำความรู้และประสบการณ์การปลูกพืชผักปลอดภัยประณีตใช้น้ำน้อย พัฒนาผลผลิตปลูกผักมูลค่าสูงเพื่อจำหน่ายแก่กลุ่มผู้รักสุขภาพ สร้างรายได้เพิ่มกว่า 7,200 บาทต่อเดือน

เมื่อช่วงต้นปี 2564 กลุ่มเกษตรกร “โครงการปลูกผักในโรงเรือน” มีข้อตกลงร่วมกันศึกษาการปลูกผักเศรษฐกิจมูลค่าสูงเพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มด้วยโดยศึกษาความต้องการของตลาดพบว่าปัจจุบันตลาดกลุ่มผู้รักสุขภาพมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความต้องการบริโภคผักปลอดภัยที่ได้มาตรฐานมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น กลุ่มผักสสัด และผักเคล(kale) เป็นต้น

กลุ่มเกษตรกรจึงเชื่อมโยงกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปิดทองหลังพระฯ ต่อยอดความรู้การปลูกผักมูลค่าสูงชนิดใหม่ และแม็คโครอุดรธานี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการรับซื้อผลผลิตจนมีความมั่นใจทดลองปลูกผักเคล(kale) ซึ่งเป็นผักที่มีมูลค่าสูงและกำลังเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้รักสุขภาพในปัจจุบันและยังไม่มีขายในแม็คโครอุดรธานีมาก่อนจึงเป็นโอกาสทางการตลาดที่น่าสนใจ ซึ่งเกษตกรจะได้นำความรู้และประสบการณ์การปลูกผักเศรษฐกิจปลอดภัย 5 ชนิดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มาปรับใช้ทดลองปลูกผักเคล(kale) ซึ่งจะเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกที่ปลูกผักเคล(kale) ส่งขายแม็คโครอุดรธานีอีกด้วย นอกจากนี้เกษตรกรยังนำผักเคล (kale) ไปจำหน่ายในตลาดร่มเขียวซึ่งเป็นตลาดชุมชน และจำหน่ายผ่านเฟสบุ๊กผักห้วยคล้าย โคกล่าม-แสงอร่ม เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด

การซื้อขายผักเคล(kale) กับแม็คโครอุดรธานีได้เริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2564 มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยสัปดาห์ละ 20-25 กิโลกรัม ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 4 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1,700 – 1,800 บาท ซึ่งกลุ่มเกษตกรมั่นใจว่าจะมีปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นพึ่งพาตนเองได้ และมีกำลังใจในการพัฒนาตนเองและกลุ่มให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นต่อไป

“โครงการปลูกผักในโรงเรือน” เป็นโครงการต้นแบบเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้งให้แก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โดยเชื่อมโยงความรู้ตามหลักวิชาการผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำเกษตรโรงเรือนประณีตแม่นยำใช้น้ำน้อย ปลูกผักเศรษฐกิจส่งขาย modern trade และตลาดในท้องถิ่น

เริ่มขึ้นเมื่อต้นปี 2563 โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน ถ่ายทอดความรู้การทำเกษตรแม่นยำใช้น้ำน้อยตามหลักวิชาการให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ปลูกผักโรงเรือนได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิฤติภัยแล้ง และถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตกรควบคู่กับการทำโครงการ อาทิ การรวมกลุ่มเกษตรกร การจัดเตรียมและการผสมวัสดุปลูก การเพาะกล้าพืชผัก การบริหารจัดการโรงเรือน การคัดแยกบรรจุ การแก้ไขและป้องกันปัญหาโรคพืช การวางแผนการผลิต การขาย การสร้างรายได้ การบริหารจัดการเงินเพื่อช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง และมีกำลังใจในการพัฒนาตนเองผ่าฟันวิกฤติต่อไป

การดำเนินโครงการฯ ประยุกต์ใช้กระบวนการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยยึดความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่เป็นหลัก เสริมด้วยความรู้ตามหลักวิชาการ การทำเกษตรปลอดภัยใช้น้ำน้อย ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกแคร่ปลูกผักที่เน้นความประณีตแม่นยำ เพื่อร่วมกันวางแผนการปลูกพืชผักที่เกษตรกรมีความคุ้นเคย โดยคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ระบบน้ำหยด การผสมวัสดุปลูกเพื่อปรับสภาพสารอาหารในดิน การควบคุมอุณหภูมิและแสงให้มีความเหมาะสมกับพืชผักแต่ละชนิด

เมื่อเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจและมั่นใจในการลงมือทำแล้ว การพัฒนาทางกายภาพจึงเริ่มขึ้น โดยชุมชนจัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกโรงเรือนขนาด 6 ม. X 24 ม. X 3.5 ม. ยกแคร่ปลูกผัก 160 โต๊ะ จำนวน 20 โรงเรือน เพื่อทดลองปลูกผักเศรษฐกิจที่ตลาดมีความต้องการ

ในช่วงแรกเริ่มมีเกษตรกรเข้าร่วม 10 ราย ปลูกพืช 2 ชนิด ได้แก่ ต้นหอมและผักชี ซึ่งเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการก่อน และเมื่อเกษตรกรมีความรู้ความชำนาญในการควบคุมความสม่ำเสมอของปริมาณ คุณภาพ และระยะเวลาได้แล้ว จึงรับสมาชิกเพิ่มอีก 9 ราย รวมเป็นเกษตรกรต้นแบบ 19 ราย และต่อมามั่นใจเพิ่มพืชอีก 3 ชนิดที่ตลาดมีความต้องการตลอดทั้งปี ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง จึงตกลงร่วมกันทดลองปลูก เพื่อเพิ่มความหลากหลายของพืชผักและเพิ่มโอกาสทางการตลาด ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการของ modern trade และตลาดท้องถิ่น โดยพืชทั้ง 5 ชนิด ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานผักปลอดภัย 250 พารามิเตอร์ โรงเรือนได้รับการรับรองการผลิตตามคุณภาพมาตรฐาน อ.ย. และผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐาน Good Agricultural Practice หรือ GAP จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผลจากการดูแลเอาใจใส่ ขยัน ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และการแบ่งปันความรู้ช่วยเหลือซึ่งและกัน ส่งผลให้เกษตรกรฝ่าวิกฤติภัยแล้งและบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ได้จนถึงปัจจุบัน โดยนับตั้งแต่เริ่มมีรายได้จากโครงการฯ จนถึงปัจจุบัน(มีนาคม 2563-มีนาคม 2564) มีปริมาณผลผลิตรวม 12,744.01 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้เกษตรกรถึง 560,748.68 บาท หรือเฉลี่ยรายละ 29,513 บาท



ปิดทองหลังพระฯ นำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้แปรสู่การปฏิบัติ ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกรและการมีส่วนร่วมในโครงการ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกษตกรมีทักษะและความชำนาญในการทำเกษตรแม่นยำใช้น้ำน้อย มีความปราณีตในรายละเอียดทุกขั้นตอนตาม ที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งปัจจุบันเกษตกรต้นแบบมีความเข้าใจ และมั่นใจในการพัฒนาศักยภาพการทำเกษตรแม่นยำอย่างเป็นระบบมากขึ้น ตามลำดับ

[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน
[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน
[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน
[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน
[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน
[บทความ] โครงการปลูกผักในโรงเรือน
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ