[บทความ] “เราต้องการเรียนรู้เรื่องการตัดเย็บเพื่อพัฒนาฝีมือ”

โครงการฝึกอบรมอาชีพตัดเย็บและแปรรูป “ผ้าทอเจ็ดสี” บ้านฮวก หมู่ที่ 12 ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยาสำเร็จลุล่วง ทั้งหลักสูตรการตัดเย็บขั้นพื้นฐาน ระยะเวลา 10 วัน และหลักสูตรการเตรียมเข้าทำงาน ระยะเวลา 15 วัน ตามความต้องการของชุมชนซึ่งปรากฎในแผนพัฒนาหมู่บ้านชุมชน (One plan) ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน โครงการฯ ดังกล่าวเป็นหนึ่งในการดำเนินงานแก้ปัญหาเร่งด่วน ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมฐานราก หมู่บ้านชุมชนชน ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือแบบเบ็ดเสร็จ (พ.ศ.2562 – 2565) “หมู่บ้านขยายผลโครงการร้อยใจรักษ์”

บ้านฮวกมีประชากร 616 คน 249 ครัวเรือนพื้นที่ติดกับเมืองคอบ แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการสำรวจสภาพเศรษฐกิจ สังคมโดยคณะทำงานระดับอำเภอ/ตำบล อาสาสมัครเก็บข้อมูล และทีมพนักงานสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ พบว่าประชากรในบ้านฮวก นอกจากประกอบอาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม ค้าขาย และการบริการ ยังมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมีความถนัดงานหัตถกรรม มีรายได้จากการทอผ้า ที่ทำต่อเนื่องมานานหลายสิบปี

วันเพ็ญ ผาแก้ว เลขานุการ กลุ่มทอผ้าบ้านฮวก กล่าวว่า ทางกลุ่มมีนางลอง ธรรมศิริ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่ลอง” เป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งกลุ่ม ผ้าทอบ้านฮวกปัจจุบันมีสมาชิก 120 คนมีผ้าทอที่โดดเด่นของกลุ่มคือผ้าทอลายขัดพื้นฐาน และผ้าทอลายเจ็ดสี ที่มีชื่อเสียงระดับสินค้โอท็อป การทำผ้าทอ มีการทำแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมโดยกระบวนการ ตั้งแต่การเพาะปลูกต้นฝ้าย พันธุ์สีตุ่น ที่มีเนื้อฝ้ายสีน้าตาล และพันธุ์สีขาวที่เป็นพันธุ์เฉพาะบ้านฮวก เมื่อนำไปทอ จะมีเอกลักษณ์เฉพาะ จึงเรียกว่า “ผ้าทอเจ็ดสี” จนมีชื่อเสียงนักท่องเที่ยวให้ความสนใจ และได้ตั้งศูนย์ผ้าทอ ลานโพธิ์ บ้านฮวก ที่นอกจากเป็นช่องทางจำหน่ายแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถ ชมกระบวนการผลิต ตั้งแต่นำดอกฝ้ายมา ตี ปั่น กรอด้าย จนถึงการทอบนกี่กระตุกเพื่อทำเป็นผืนผ้า

การจำหน่ายเป็นผืนผ้าอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ กลุ่มทอผ้า ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องการ ออกแบบ ตัดเย็บ ในอำเภอภูซาง กับหมู่บ้านใกล้เคียงก็มีกลุ่มทอผ้าหลายกลุ่ม ที่ออกแบบตัดเย็บผ้าทอ เป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ของใช้ อยู่แล้วแต่กลุ่มทอผ้าบ้านฮวกยังไม่มี แม้ทางอำเภอภูซาง จะจัดให้การอบรมเรื่องการตัดเย็บ แต่ด้วยระยะเวลาที่น้อยกับจำนวนผู้เรียนจากหลายหมู่บ้านประมาณ 50 คนทำให้เรียนรู้ไม่เต็มที่ มีคนเรียนจำกัด พื้นฐานเรื่องการตัดเย็บต่างกัน ประธานกลุ่มคือ “แม่ลอง” จึงขอไปกับทางอำเภอว่า อยากให้มาอบรมที่หมู่บ้านโดยตรง เป็นช่วงที่ ปิดทองหลังพระฯเข้าทำโครงการในพื้นที่ จึงเสนอโครงการนี้กับทางปิดทองหลังพระฯที่ช่วยประสานงานเรื่องหลักสูตร วิทยากรอบรม กับสนับสนุนอุปกรณ์ ส่วนหนึ่งตามความจำเป็น เช่น จักรเย็บผ้าที่เมื่อก่อนทางกลุ่มต้องไปยืมจากที่อื่นไม่พอกับการใช้งาน

“สมาชิกที่ต้องการเรียน มีกว่า 20 ที่ไม่มีพื้นฐานตัดเย็บเลย การจะมารอคนที่ไปอบรมกับทางอำเภอมาสอนก็ทำไม่ได้ จักรก็ไม่พอให้เรียน เพราะต้องยืมจากที่อื่น จึงใช้วิธีขอให้มาสอนกับกลุ่มโดยตรง เพราะคนต้องการเรียนมีเยอะ บางคนไม่มีพื้นฐานเรื่องการตัดเย็บเลยใช้จักรยังไม่เป็น จึงเป็นเรื่องยากถ้าจะให้มาตัดผ้าทำเสื้อเพื่อจำหน่าย เลยต้องแบ่งหลักสูตรเรื่องการใช้จักรตัดเย็บทั่วไปก่อนมาออกแบบ ตัดเป็นเสื้อสำเร็จรูป”

เลขานุการกลุ่มทอผ้าบ้านฮวกกล่าวว่า สมาชิกเพิ่งผ่านการอบรมไม่นาน ยังต้องค่อยเป็นค่อยไปเรื่องพัฒนาฝีมือการตัดเย็บ เมื่อชำนาญแล้วน่าจะสามารถออกแบบเสื้อผ้า โดยใช้ผ้าทอของบ้านฮวกตัดมาโชว์ที่ศูนย์ได้ ทางกลุ่มวางแผนที่จะจัดแบ่งเรื่องการทำงาน เป็นฝ่ายทอผ้า กับฝ่ายตัดเย็บเพราะบางคนยังไม่ชำนาญเรื่องการทอผ้า แต่ต้องการสร้างอาชีพเสริมหลังจากการทำเกษตร จึงให้พัฒนาเรื่องการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นหลัก ที่สำคัญ คือ ทางกลุ่มมีผู้จัดการแผนปฏิบัติการ (AD1) ที่เป็นรองปลัด อบต.ภูซาง และอาสาพัฒนาทางเลือก (AD2) ที่เป็นชาวบ้านในพื้นที่ เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน ร่วมกับผู้นำชุมชน และคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทุกขั้นตอน

เป้าหมายการอบรมของกลุ่มทอผ้าบ้านฮวก เพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการออกแบบ ตัดเย็บ และแปรรูปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปรวมถึงการตลาด ส่งเสริมและพัฒนาด้านอาชีพให้กับกลุ่มเกิดการสร้างสรรค์ผลงาน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อนุรักษ์ ลายผ้าทอเจ็ดสี ให้เป็นเอกลักษณ์ของบ้านฮวกและเผยแพร่ ให้เป็นที่รู้จักเป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการสร้างทางเลือกการประกอบอาชีพ ในระดับครัวเรือนพึ่งตนเอง ชุมชนรวมกลุ่มพึ่งพา และเชื่อมโยงสู่ภายนอก

[บทความ] “เราต้องการเรียนรู้เรื่องการตัดเย็บเพื่อพัฒนาฝีมือ”
[บทความ] “เราต้องการเรียนรู้เรื่องการตัดเย็บเพื่อพัฒนาฝีมือ”
[บทความ] “เราต้องการเรียนรู้เรื่องการตัดเย็บเพื่อพัฒนาฝีมือ”
[บทความ] “เราต้องการเรียนรู้เรื่องการตัดเย็บเพื่อพัฒนาฝีมือ”
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ