[บทความ]ฝันเป็นจริง! รอคอยมา 30 ปี วันนี้ชาวบ้านเมืองพานมีน้ำใช้

ชาวบ้านเมืองพาน ใช้เวลา 15 วัน ร่วมกันซ่อมฝายห้วยน้ำพาน โดยรูปแบบประหยัด เรียบง่าย สามัคคี บรรเทาภัยแล้ง นำประโยชน์สูงสุดกลับคืนสู่ประชาชน

ฝายห้วยน้ำพาน บ้านเมืองพาน หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีเป็นฝายน้ำล้นเก่าสร้างมาตั้งแต่ปี 2535 ขนาด 100,000 ลบ.ม. กว้าง 20 เมตร ยาว 2,000 เมตร ลึก 2.5 เมตร รับน้ำจากห้วยน้ำพาน เข้าพื้นที่การเกษตรกรในหมู่บ้านเมืองพาน แต่มีสภาพทรุดโทรมชำรุดเสียหายจากการใช้งาน เก็บน้ำไม่ได้เละเกษตรกรลำบาก ขาดน้ำทำการเกษตร โครงการปรับปรุงซ่อมแซมฝายน้ำล้นห้วยน้ำพาน จึงเป็นการซ่อมแซมและเพิ่มศักยภาพฝายน้ำล้นเดิมที่ชำรุดเสียหายที่ชาวบ้านรอคอยมาเกือบ 30 ปี ให้กลับมาใช้งานได้เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่

ปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่สำรวจฝายห้วยน้ำพานที่เป็นฝายเก่า พบว่ามีสภาพชำรุดเสียหายบริเวณพื้นที่หน้าฝายและท้ายฝาย มีรอยแตกหูช้างด้านขวา ผนังกั้นน้ำชำรุด และมีโพรงใหญ่ท้ายฝายขนาดใหญ่ โดยสอบถามปัญหาและความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าชาวบ้านบริเวณพื้นที่โดยรอบฝายประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำทำการเกษตรโดยเฉพาะในหน้าแล้ง โดยชาวบ้านมีความต้องการซ่อมแซมฝายห้วยน้ำพานที่ชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้มาหลายสิบปีแล้วจึงได้มีการประชาคมเพื่อสอบถามความความต้องการของชาวบ้านและชี้แจ้งวิธีการทำงานตามกระบวนการปิดทองหลังพระฯเพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการทำงานของโครงการ บทบาทหน้าที่ วิธีการทำงาน ระยะเวลา และความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่ และรับสมัครผู้ตกงาน ผู้ว่างงานจากผลกระทบโควิด-19 ให้มาทำหน้าที่พนักงานโครงการและ อสพ. เพื่อประสานงานหน่วยงานภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่ให้มาทำงานโดยพร้อมเพียงกัน

ทุกฝ่ายจึงได้เริ่มเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 โดยปรับพื้นที่บริเวณโดยรอบฝาย ขุดร่องดินเทคานหน้าฝาย มัดเหล็กตาข่ายหน้าฝาย เทปูนคานหน้าฝายและก่ออิฐบล็อค ซ่อมแซมรอยแตกหูช้างด้านขวา ผนังกั้นน้ำ ฉาบปูนหน้าฝาย และอุดโพรงและเทคอนกรีดท้ายฝายปิดรอยแตก ใช้งบประมาณเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์ 57,990 บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ใช้เวลาเพียง 15 วัน ก็สามารถซ่อมแซมฝายและปรับปรุงบริเวณฝายเสร็จเรียบร้อย โดยมีชาวบ้านร่วมสละแรงงาน 15 แรง/วัน และมีช่างอบต.เมืองพานคอยควบคุมการทำงานตามแปลนที่กำหนดไว้เพื่อให้ฝายมีความแข็งแรง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิชาการ ปัจจุบันฝายมีน้ำเต็มพื้นที่ คาดว่าจะมีที่รับประโยชน์จากน้ำได้ถึง 150-200 ไร่ และมีครัวเรือนได้รับประโยชน์ทั้งในหมู่ 1 หมู่ 7 หมู่ 15 กว่า 53 ครัวเรือน ชาวบ้านเตรียมปลูกข้าวสาลีและพืชผักสวนครัว เช่น ฟักทอง ผักกาด เป็นต้น

นายกิตติชัย กลุ้มศิลป์ ผู้ใหญ่บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี กล่าวว่า เหมือนฝันที่เป็นจริง ชาวบ้านดีใจมากที่ปิดทองหลังพระ ได้เข้ามาช่วยซ่อมแซมฝายห้วยน้ำพานที่เป็นฝายเก่าชำรุดเสียหายมาหลายสิบปี พวกเรารอมานานแล้ว คิดว่าเกือบ 30 เลยนะ ไม่มีใครมาช่วยเลย ขอบคุณโครงการโควิดปิดทองหลังพระที่มาช่วย ทำให้พวกเรามีน้ำทำเกษตรได้ตลอดปีเลย อยากให้มีโครงการอย่างนี้อีกต่อไป เพราะชาวบ้านได้ประโยชน์จริง

โครงการปรับปรุงซ่อมแซมฝายน้ำล้นห้วยน้ำพาน บ้านเมืองพาน หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างใน “โครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ” หรือ “โครงการโควิดปิดทองหลังพระ ระยะที่ 2” ที่นำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้แปรสู่การปฏิบัติ แก้ปัญหาภัยแล้ง เน้นการมีส่วนร่วมจากภาครัฐและประชาชนที่ได้รับประโยชน์ลงมือทำงานร่วมกัน ด้วยวิธีการที่ทำให้ง่าย รวดเร็ว ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสูด

[บทความ]ฝันเป็นจริง! รอคอยมา 30 ปี วันนี้ชาวบ้านเมืองพานมีน้ำใช้
[บทความ]ฝันเป็นจริง! รอคอยมา 30 ปี วันนี้ชาวบ้านเมืองพานมีน้ำใช้
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ