[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม

นางสาวนุรอาซีกิน มะเซ็ง พนักงานโครงการฝ่าวิกฤติฯ กล่าวถึงความสำเร็จโครงการซ่อมแซมฝายบ้านพร่อน หมู่ 1 ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลาว่าโครงการแล้วเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564โดยสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน 60 ครัวเรือน พื้นที่รวม 125 ไร่ ซึ่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้ความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ชาวบ้านและหน่วยงานที่เห็นความสำคัญเรื่องน้ำ และร่วมกันมาทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมกันในทุกช่วงเช้าของทุกวันจนโครงการแล้วเสร็จ

เธอเล่าต่อว่า ก่อนจะมีโครงการฝ่าวิกฤติฯ ของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ฝายบ้านพร่อนชำรุดเป็นระยะเวลานาน10 ปี เสียหายหลายจุด ถูกทิ้งร้างไม่ได้รับการซ่อมแซม ถึงมีน้ำใช้แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร อีกทั้งในช่วงฤดูกาลทำนา ชาวบ้านแก้ปัญหาด้วยการนำทรายใส่กระสอบ ขนมาสร้างเป็นแนวกั้นน้ำ สำหรับเป็นทางให้น้ำไหลลงสู่คลองไส้ไก่และแปลงนา เนื่องจากไม่มีผนังฝายกั้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยได้แค่บรรเทาช่วงฤดูทำนาเท่านั้น ไม่คงทน กระทั่งภายหลังได้ทำการประชาคมสอบถามความต้องการของชาวบ้านแล้ว ต่างลงความเห็นว่าจะร่วมกันลงแรงทำโครงการ โดยมีพนักงานโครงการฝ่าวิกฤติฯทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานกับชุมชน ผ่าน4 กิจกรรมหลัก เพื่อให้กระบวนการซ่อมแซมง่ายต่อการจัดการ ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 ฝายโต เป็นการซ่อมแซมผนังฝาย จากเดิมที่ไม่มีผนังฝาย โดยการขึ้นโครงเทปูน สร้างฐานกั้นฝายซึ่งกิจกรรมนี้ใช้ระยะเวลาในการทำ 12 วัน ถัดมากิจกรรมที่ 2 ฝายหลังโรงสี มีการซ่อมแซมผนังฝายและประตูฝาย ด้วยการทุบสร้างใหม่ เพราะว่าประตูเก่าถูกน้ำกัดเซาะ พังเสียหาย จุดนี้ ใช้ระยะเวลาในการซ่อมกว่าหนึ่งเดือน เพราะเป็นฝายที่ใหญ่ที่สุด เสียหายหนักที่สุด และใช้แรงงานคนมากที่สุดในการกวนปูนและเทปูน 20 กระสอบต่อวัน ต้องอาศัยแรงงานคนมากถึง 50 คน และได้หน่วยงานจิตอาสาตำบลบ้านพร่อม ทหารอาสากองร้อย ร1 สังกัด ฉก.ยะลา และการสนับสนุนค่าอาหารและน้ำจากผู้นำชุมชน ระหว่างการดำเนินกิจกรรมนี้ด้วย ขณะที่กิจกรรมที่ 3 ฝายสนอ1 และกิจกรรมที่ 4 ฝายสนอ 2 นั้น เนื่องจากจุดนี้มีการชำรุดเสียหายไม่มาก จึงใช้ระยะเวลาในการซ่อมแซมเพียง 10 วันเท่านั้น ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการฯ ชาวบ้านในพื้นที่มีการจัดตั้งกลุ่มสำหรับบริหารจัดการคอยดูแลฝายดังกล่าวต่อไปเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอสำหรับการเกษตรทุกครัวเรือน

“ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่นี่ทำการเกษตร ทำนา ปลูกพืชหลังนา ข้าวโพด ถั่วฝักยาว แตงกวาและก็พืชผักสวนครัวทั่วไป ก่อนหน้านี้มีน้ำแต่ก็ไม่มากพอให้รด แต่หลังโครงการฝ่าวิกฤติเข้ามาก็ได้ช่วยชาวบ้านได้ดีขึ้น ส่วนตัวมองเห็นศักยภาพของชาวบ้านที่เข้มแข็งมากจากโครงการฝ่าวิกฤติฯ นี้ ยอมสละเวลาส่วนตัวเพื่อมาทำประโยชน์ส่วนรวม แต่ละวันก็คือออกมาช่วยกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย วัยหนุ่ม วัยกลางคน วัยชรา ไม่มากไม่น้อย เพราะชาวบ้านก็มีงานประจำ ประทับใจกับภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้” นุรอาซีกิน พนักงานโครงการฝ่าวิกฤติฯ กล่าว

ขณะที่จิตอาสาหมู่บ้านพร่อน นายเจ๊ะลาวี หายีสา อายุ 57 ปีเผยความรู้สึกที่เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยซ่อมแซมฝายในครั้งนี้ว่า เนื่องจากเห็นน้องๆเจ้าหน้าที่โครงการฝ่าวิกฤติฯ ลงมาก็สนใจเข้าไปช่วย ไปตั้งแต่วันแรกโดยแต่ละวันทำหน้าที่ปรับพื้นที่ ทำตอม่อ เสียบเหล็ก ใส่เหล็ก ผูกเหล็ก เป็นต้น จนวันสุดท้ายเพราะชาวบ้านเราไม่มีน้ำใช้ ทำนาลำบากมาก แห้งตายหมด ทำนาต้องรอน้ำจากหมู่บ้านอื่นปล่อยน้ำลงมา ถ้าเขาไม่ปล่อยลงมาก็ลำบาก ต้องดักน้ำเอง ซื้อกระสอบใส่ทรายทำทางดักน้ำเอง และฝายดังกล่าวข้างๆแต่ก่อนชำรุดหมดเลย ไม่มีใครซ่อมไม่มีงบประมาณ บางทีทำนาก็ไม่ได้กิน เสียหายแต่ละปีสูงสุด 7 พันบาท เทียบแต่ก่อนฝนตกน้ำไปหมดเพราะน้ำมันรั่ว แต่ปีนี้น่าจะดี ฝนตกสองสามวันน้ำเต็ม สบายใจ ปีนี้คาดว่าจะได้กำไรจากข้าวเป็นหมื่น จากพื้นที่ 5 ไร่ ปีนีสบายใจแล้ว มีน้ำ เราทำไม่ได้เงิน แต่พอใจ

ทั้งนี้โครงการฝ่าวิกฤติฯ นี้ต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ”โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19” ในพื้นที่ต้นแบบ 3 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม ถึงกรกฎาคม 2563 เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิดระลอกแรก ด้วยการจ้างงาน พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ความสำเร็จระยะที่ 1 จึงเป็นแนวทางให้เกิดโครงการระยะที่ 2 ในพื้นที่ต้นแบบ 9 จังหวัดของปิดทองหลังพระฯ ได้แก่ น่าน อุทัยธานี เพชรบุรี อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชนทั้งสิ้น 80 โครงการฯ (ยะลา 41 ปัตตานี 21 นราธิวาส 18) คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในสิ้นเดือนมิถุนายน นี้

[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
[บทความ]จิตอาสา - พนง.ฝ่าวิกฤติฯ เผยประทับใจ เห็นศักยภาพชุมชน ร่วมกันลงมือ“ซ่อมฝาย” เพื่อส่วนรวม
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ