ผลสำเร็จพื้นที่ต้นแบบฯจังหวัดชายแดนใต้ ชุมชนพึ่งตนเองยกระดับรวมกลุ่มเสริมความเข้มแข็ง

    นายทัณฑวัต พุทธวงค์ หัวหน้างานพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชายแดนใต้ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่าพื้นที่ต้นแบบฯใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ของจังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานีจำนวน 6 หมู่บ้าน ปิดทองหลังพระฯเริ่มเข้าไปดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ มีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ครบทุกครัวเรือน และมีแหล่งน้ำใช้ทำเกษตรตลอดทั้งปี 1,920 ไร่   

    สำหรับกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มีเกษตรกรเข้าร่วม  761 ครัวเรือน และพัฒนารวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน 6 แห่ง กลุ่มอาชีพ 2 กลุ่ม  และกลุ่มผู้ใช้น้ำ 4 กลุ่ม  เกิดรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มที่ชุมชนพึ่งตนเองได้  โดยมีการสำรวจความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ พบว่าครัวเรือนผ่านเส้นความยากจนจาก 699 ครัวเรือน เพิ่มเป็น 879 ครัวเรือน จากที่มีอยู่ 1,119 ครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.53  

    ด้านสังคมจิตวิทยา ชุมชนเกิดกระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ มีกลุ่มเกษตรกร เกิดความสามัคคีในชุมชน เชื่อมโยงการทำงานกับชุมชนอื่นๆ การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มนั้น  ใช้หลักการให้ชุมชนเกิดกระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ  ประชาชนมีแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ  มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โปร่งใส และมีการตรวจสอบบัญชีการเงินโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 

    นอกจากนี้ยังส่งเสริม BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy หรือการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมแบบ 3 มิติไปพร้อมกัน ทั้งระบบเศรษฐกิจชีวภาพการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว แก้ปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืนให้ชุมชนดูแลสิ่งแวดล้อม
    “ปัจจัยความสำเร็จดังกล่าว เริ่มจากมองการพัฒนาแบบองค์รวม เน้นกระบวนการพัฒนา การค้นหาปัญหาที่แท้จริง หรือการระเบิดจากภายใน การมีส่วนร่วม และการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” 

    นายทัณฑวัตยังกล่าวเพิ่มเติมว่าทิศทางในอนาคตจะเน้นนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาต่อยอดด้านการส่งเสริมอาชีพภาคการเกษตร  เพื่อลดแรงงาน  ลดต้นทุน และเหมาะสมแก่เกษตรกรวัยรุ่นยุคใหม่ให้เข้าถึงได้  แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ลักษณะทำน้อยได้มาก เน้นทำตลาดออนไลน์  และการตลาดเพื่อสุขภาพ 

การจะขยายและต่อยอดผลโครงการฯด้วยการให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป และนักศึกษา ได้มาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ  การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริให้เป็น Social Lab ของการพัฒนาชนบท  
เริ่มต้นที่หมู่บ้านฮูแตทูวอ ต.โคกเคียน อ.เมือง  จ.นราธิวาส  โดยจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ 3 หลักสูตร ประกอบด้วย 1.การประยุกต์ใช้กระบวนการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อให้ได้ปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ดิน การลดรายจ่าย  นำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน   2. การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ “ ทฤษฎีใหม่ ”  ขั้นที่ 2 และ 3 การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงภายนอก  และ 3. การวางแผนและการฝึกปฏิบัติด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้มีรายได้ตลอดทั้งปี   โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เขียนหลักสูตรนี้ขึ้น  

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ