“บ้านเมืองไผ่ ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์” เสริมศักยภาพระบบน้ำ ขยายองค์ความรู้หม่อนไหมสู่สังคม

    บ้านเมืองไผ่ ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ คือชุมชนผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยจะมีทั้งเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเพื่อส่งขายใบ และผู้ปลูกเลี้ยงตัวไหมเพื่อทำใยไหมส่งขาย นอกจากนี้ผู้เลี้ยงตัวหม่อนไหมหลังจากสาวเส้นใยไหมยังมีรายได้จากการขายดักแด้อีกด้วย
    แม้บ้านเมืองไผ่จะเป็นชุมชนที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอชุมพลบุรี แต่ด้วยระบบน้ำที่ส่งเข้าไปยังแปลงปลูกหม่อน ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงแม้น้ำจะอุดมสมบูรณ์ ทำให้ในช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตทางการเกษตรย่ำแย่ถึงขั้นหม่อนยืนต้นตายเลยทีเดียว 

    “ที่นี่มีพื้นที่ปลูกหม่อน 12 ไร่ แบ่งเป็นแปลงหม่อน 53 แปลง มีสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกหม่อน 38 ราย ปกติเกษตรกรแต่ละรายจะมีรายได้ประมาณ 700 บาท ต่อการเก็บใบหม่อนขาย 1 ครั้งต่อแปลง ซึ่งแทบจะเป็นรายได้หลักของชุมชน แต่พอถึงหน้าแล้ง ระบบน้ำมันเข้าไม่ถึงแปลงปลูกหม่อน ใบไม่สมบูรณ์ขายไม่ได้ราคาบ้าง บางทีแล้งถึงขนาดหม่อนยืนต้นตาย ทั้งๆที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อไม่อั้น แต่เราไม่มีขาย เกษตรกรก็ขาดรายได้ตรงนี้” นายวิทวัส เอื้อนไธสง ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 บ้านเมืองไผ่ ชุมพลบุรี ต.เมืองบัว จ.สุรินทร์ บอกเล่าถึงสภาพปัญหาของชุมชน

    จนในปี 2565 ที่ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ เสริมงบสนับสนุนโครงการขยายโครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ ซ่อมแซมแหล่งน้ำชุมชนลุ่มน้ำมูล 5 โครงการ ใน 5 จังหวัดภาคอีสาน ที่พร้อมต่อยอดสร้างอาชีพให้เกษตรกรหลังได้รับน้ำ 
 

   โดยโครงการเสริมศักยภาพระบบส่งน้ำหนองยาง บ้านเมืองไผ่ ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ คือ 1 ใน 5 โครงการที่ได้รับงบประมาณในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 จุด โดยจุดแรกทำการการต่อท่อเสริมระบบกระจายน้ำเข้าแปลงปลูกหม่อนความยาวประมาณ 2,120 เมตร จุดที่ 2 บริเวณแปลงปลูกผักอินทรีย์ชุมชน  ประกอบด้วย แผงโซล่าเซลล์พร้อมระบบสูบน้ำขนาด 300 วัตต์ จำนวน 3 แผง ก่อสร้างหอถังน้ำสูง 6 เมตร พร้อมถังเก็บน้ำจำนวน 2,500 ลิตร 2 ถัง   ใช้งบประมาณ 311,000 บาท มีพื้นที่รับประโยชน์ 15 ไร่ หลังแล้วเสร็จโครงการคาดการณ์รายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นกว่า 1,056,000 บาท 

    พอรู้ว่าชุมชนได้รับโครงการจากตลาดหลักทรัพย์และปิดทองหลังพระฯ ชาวบ้านก็ดีใจและตื่นตัวกันมาก ชุมชนที่นี่เข้มแข็ง ขอความร่วมมืออะไรก็ร่วมแรงร่วมใจกัน ขาดเพียงแค่เสริมระบบน้ำให้ทั่วถึงชุมชนก็จะไปได้ไกล จะเห็นได้ว่าแม้แต่ผู้สูงอายุก็มาช่วยลงมือลงแรงต่อท่อเข้าแปลงหม่อน เพราะเขาอยากได้น้ำจริงๆ ต่อไปหน้าแล้ง ต้นหม่อนที่นี่ก็ไม่ต้องยืนต้นตายและสามารถขายได้อย่างต่อเนื่องให้ชุมชนมีรายได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีแปลงผักที่ช่วยลดรายจ่ายและหากเหลือก็ขายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกด้วย และในอนาคต จะสร้างที่นี่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้หม่อนไหมครบวงจร เรียกได้ว่าใครอยากรู้เกี่ยวกับหม่อนไหม ต้องนึกถึงบ้านเมืองไผ่ ต.เมืองบัว จ.สุรินทร์” นายวิทวัส กล่าว 

    ด้าน น.ส. วันเพ็ญ หาญเสมอ นายอำเภอชุมพลบุรีกล่าวปิดท้ายว่า ต้องขอบคุณตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ปิดทองหลังพระฯ ที่ได้นำโครงการดีๆ ช่วยเสริมศักยภาพชุมชน หน่วยงานราชการก็มองว่าชุมชนที่นี่เข้มแข็ง หากได้เสริมและต่อยอดอีกเพียงนิดเดียว ก็จะพัฒนาไปได้อีกไกล เราเชื่อว่าเมื่อน้ำมา ก็จะได้เห็นแปลงหม่อนที่นี่เขียวและอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี และเจตนารมณ์ของปิดทองหลังพระฯ ที่ว่าอยากจะให้ยั่งยืน ที่นี่ก็จะเป็นเช่นนั้น เพราะพี่น้องเกษตรกรได้ลงมือลงแรงทำด้วยตัวเอง

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ