ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามรวมพลัง ปลูกป่าเสริมต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12,000 ต้น

กิจกรรมปลูกป่าเสริมบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องใน “โครงการปลูกป่าต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ฟื้นฟูระบบนิเวศ และสร้างความชุมชื้นให้แก่ป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยนำแนวคิด “เติมน้ำ โดยการเพิ่มป่า” และแนวพระราชดำริ “ปลูกป่าในใจคน” มาเป็นหลักดำเนินงานของโครงการ คือ การจะปลูกป่านั้นควรปลูกป่าในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง

นายเศวต จันทร์หอม ผู้ใหญ่บ้านแสงอร่าม กล่าวว่ากิจกรรมปลูกป่าจัดแบบเรียบง่าย มีหน่วยงานและชาวบ้านในพื้นที่รวมกว่า 200 คน ช่วยกันนำกล้าไม้ เช่น พยูง ขี้เหล็ก ไม้แดง อายุมากกว่า 1 ปี พร้อมปลูก ไปปลูกในพื้นที้ที่จัดเตรียมไว้บริเวณต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ จำนวน 12,000 ต้น หน่วยงานที่มาช่วยกันในวันนี้มี อำเภอหนองวัวซอ ป่าไม้อุดรธานี หน่วยจัดการต้นน้ำ เทศบาลกุดหมากไฟ ธกส. ตำรวจในพื้นที่ และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ มาช่วยกันทำความดี ปลูกป่าต้นน้ำ กว่าจะเสร็จก็บ่ายแก่ๆ ชาวบ้านและหน่วยงานเห็นประโยชน์ ช่วยกันเต็มที่ คนละมือละไม้ มีต้นกล้าพร้อมปลูกเท่าไหร่ ก็ปลูกแค่นั้นจนเสร็จ

กิจกรรมปลูกป่าจัดต่อเนื่องมาหลายครั้งแล้ว เริ่มต้นปี 2564 ครั้งที่ผ่านมาก็ปลูกป่าวันแม่ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในเดือนสิงหาคม ตอนนั้นปลูกป่าไปได้เกือบ 20,000 ต้นเลยทีเดียว ซึ่งได้ขึ้นไปดูตอนนี้กล้าไม้ที่ปลูกไปก็อยู่รอดกันดี เขียวดี ได้น้ำฝน แต่ครั้งนี้ปลูกไป 12,000 ต้น เพราะว่ามีต้นกล้าพร้อมปลูกแค่นี้

โครงการปลูกป่าต้นน้ำเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2563 มีชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ประชาชนจิตอาสา และหน่วยงานในพื้นที่ เช่น อำเภอหนองวัวซอ ศูนย์ป่าไม้อุดรธานี หน่วยจัดการต้นน้ำลำห้วยหลวง สำนักงานเทศบาลกุดหมากไฟ ธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำเพื่อคืนสภาพความสมบูรณ์ให้แก่ผืนป่า มีการจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม ได้แก่ กิจกรรม “สำรวจพื้นที่ป่า” เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับปลูกป่า แนวเขตกันไฟ กิจกรรม “สร้างโรงเรือนเพาะกล้าไม้” กิจกรรม “เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้” กิจกรรม “เตรียมดิน กรอกถุงดิน” และกิจกรรม “เพาะกล้าไม้” และ กิจกรรม “ปลูกป่า” โดยมีการให้ความรู้เฉพาะในแต่ละเรื่อง และการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ ป่าชุมชนควบคู่ไปพร้อมกันด้วย โดยสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้น 5 ประการ ได้แก่ 1.ป่าต้นน้ำมีความชุ่มชื้นสมบูรณ์มากขึ้น 2.แหล่งน้ำต้นทุนมีปริมาณเพียงพอทำการเกษตร 3. บรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 4.ป้องกันไฟป่า และ 5. เสริมสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรในพื้นที่

จากแนวพระราชดำริ “ปลูกป่าในใจคน” ปิดทองหลังพระฯ อำเภอหนองวัวซอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจแก่เกษตกรและประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ และประโยชน์ที่จะได้รับ ที่สำคัญจะเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาให้กับเกษตกรในพื้นที่อื่นๆ ภายในจังหวัดอุดรธานีอีกด้วย

การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเกษตกรในชุมชน ปัจจุบันมีคณะกรรมการป่าชุมชน ทำหน้าที่ดูแลรักษาป่าต้นน้ำ ป้องกันไฟไหม้ป่า สำรวจแนวกันไฟ พื้นที่ปลูกป่าเสริม และรณรงค์ให้ชาวบ้านเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ปริมาณพันธุ์กล้าไม้ที่มากขึ้นสำหรับนำไปปลูกป่าเสริมในระยะเวลาที่เหมาะสมในหน้าฝนปีหน้าต่อไป

ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามรวมพลัง ปลูกป่าเสริมต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12,000 ต้น
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามรวมพลัง ปลูกป่าเสริมต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12,000 ต้น
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามรวมพลัง ปลูกป่าเสริมต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12,000 ต้น
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามรวมพลัง ปลูกป่าเสริมต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12,000 ต้น
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามรวมพลัง ปลูกป่าเสริมต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12,000 ต้น
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ