ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อบรมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เตรียมพร้อมนำร่องระบบชลประทานอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของประเทศ

มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหน่วยงานในพื้นที่ จัดอบรมผู้ช่วยนักวิจัยชาวบ้าน 25 คน เตรียมพร้อมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนำร่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการบริหารจัดการระบบชลประทานอัจฉริยะ (Smart Irrigation System) อย่างยั่งยืนแห่งแรกในประเทศไทย

โครงการปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ศึกษาวิจัยเชิงพัฒนาปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงและตลาดมีความต้องการ เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ โดยใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานอัจฉริยะ (Smart Irrigation System) ที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี 5G เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำชุมชนให้สามารถวางแผนการใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล รวมทั้งพัฒนากองทุนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เชื่อมโยงกับภายนอกทั้งด้านการตลาด แหล่งทุน นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้วย

นางสุภาวดี ปั้นสง่า ผู้ช่วยนักวิจัยฯ ที่เข้าอบรมเล่าว่าตนเองมีความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้ ตนเองและชาวบ้านได้เสียสละพื้นที่นาเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองปลูกกัญชงซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญสำหรับชุมชนและผู้สนใจปลูกกัญชงในอนาคต กัญชงเป็นพืชตัวใหม่ เป็นพืชที่มีมูลค่าสูง มีกระแสมาสักพักแล้ว ตลาดมีความต้องการ ตนเองและชุมชนจึงสนใจศึกษาความรู้เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ การอบรมครั้งนี้ปิดทองหลังพระฯ ได้เชิญอาจารย์ม.แม่โจ้มาให้ความรู้ เป็นประโยชน์มากเพราะได้เรียนรู้การปลูกกัญชงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ได้เรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการตั้งแต่การวางแผนเพาะเมล็ดไปจนถึงการเก็บเกี่ยวช่อดอก การป้องกันโรคพืชและแมลง และกฎระเบียบความรู้ที่จำเป็นด้วย

การอบรมปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์เป็นการเตรียมพร้อมชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบน้ำอัจฉริยะ 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้การปลูกกัญชงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการกับผู้ช่วยนักวิจัยที่คัดเลือกมาจากชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 25 คน มีการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการเพาะปลูก การป้องกันและดูแลรักษาโรคพืชและแมลง ได้แก่ วัสดุเพาะเมล็ด วัสดุปลูก การเตรียมดินและน้ำ การใช้ชีวภัณฑ์ การติดตามบันทึกประวัติแปลงปลูก การให้น้ำ ให้แสง และกฏระเบียบข้อบังคับที่จำเป็น

ชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้เสียสละพื้นที่เพื่อทดลองปลูกพืชกัญชง จำนวน 3 แปลง แปลงละ 1 ไร่ มีการจัดเตรียมแปลงตามกฏระเบียบ และปลูกโรงเรือนสำหรับปลูกกัญชง 2 โรงเรือน และโรงเพาะกล้า 1 โรงเรือน ขณะนี้อยู่ระหว่างการยืนขออนุมัติมาตรฐานโรงเรือนและแปลงปลูกกัญชงจาก อย.

มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ให้ความสำคัญกับการเสริมประสิทธิภาพและยกระดับชุมชนไปสู่ความยั่งยืน สามารถรองรับสถานการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ให้เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ที่เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า หารูปแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดการความรู้ และส่งเสริมการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ อย่างเป็นระบบกว้างขวาง จนเป็นแนวทางการพัฒนาหลักของประเทศ

ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อบรมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เตรียมพร้อมนำร่องระบบชลประทานอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของประเทศ
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อบรมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เตรียมพร้อมนำร่องระบบชลประทานอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของประเทศ
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อบรมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เตรียมพร้อมนำร่องระบบชลประทานอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของประเทศ
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อบรมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เตรียมพร้อมนำร่องระบบชลประทานอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของประเทศ
ชาวบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อบรมปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ เตรียมพร้อมนำร่องระบบชลประทานอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของประเทศ
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ