โครงการปิดทองหลังพระฯน่านก้าวหน้าพัฒนาเป็น Social Lab

พื้นที่ต้นแบบจังหวัดน่านสอบผ่านเกณฑ์พัฒนาตามทฤษฏีใหม่เทียบมาตรฐานระดับสากลครัวเรือนพึ่งพาตนเองได้ ผ่านเกณฑ์เส้นยากจน เกิดการรวมกลุ่มอาชีพพร้อมพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)

นับตั้งแต่ปี 2552 การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่าน โดยสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการใน 20 หมู่บ้านของ 3 อำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา สองแคว และเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ป่าต้นน้ำถูกบุกรุกแผ้วถางเผาทำลาย เพื่อการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ชาวบ้านมีความยากจน มีหนี้สิน ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และขาดโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ จนสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชน ชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ จำนวน 2,077 ครัวเรือน หรือร้อยละ 97 จาก 2,129 ครัวเรือน

ปิดทองหลังพระฯได้จัดทำเกณฑ์ตัวชี้วัดที่เป็นการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 9 ตัวชี้วัด 3 ระดับขั้นการพัฒนาตามทฤษฎีใหม่ คือ ขั้นครัวเรือนอยู่รอด การรวมกลุ่มพึ่งพากันเองในชุมชน และการเชื่อมโยงออกสู่ภายนอก เป็นเกณฑ์ที่สามารถอ้างอิงได้กับเกณฑ์ของระดับสากลทั้งเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) เกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลก WHO เกณฑ์ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO เกณฑ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF และ เกณฑ์องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO โดยสำรวจพบว่าพื้นที่ต้นแบบจังหวัดน่านสอบเกณฑ์ที่พร้อมส่งมอบพื้นที่ได้

เกณฑ์ตัวชี้วัดเหล่านี้สามารถทำให้ปิดทองหลังพระฯทยอยส่งมอบการพัฒนาให้หมู่บ้านชุมชนเพื่อไปดำเนินการต่อ ตามแผนงานคือภายในปี 2564 สามารถส่งมอบได้จำนวน 5 หมู่บ้านส่งมอบแบบมีเงื่อนไข 12 หมู่บ้านและปี 2565 ทยอยส่งมอบอีก 3 หมู่บ้าน จนครบ 20 หมู่บ้าน และยังคงทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น จังหวัดน่าน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน เกษตรอำเภอ ในเรื่องการต่อยอดเกษตรแปลงใหญ่และการส่งเสริมอาชีพโดยยึดความพร้อมของชุมชนและการมีส่วนร่วม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ในเรื่องการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

สำหรับแผนงานระยะต่อไปของปิดทองหลังพระฯ จะพัฒนาพื้นที่ต้นแบบน่านให้เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ที่นอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกแล้ว ยังเป็นแหล่งพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้สามารถเรียนรู้ยกระดับการบริหารจัดการตนเองได้ไม่หยุดนิ่ง ปิดทองหลังพระฯ จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของวิทยากรกระบวนการ ที่เป็นตัวแทนของชุมชนก่อน (ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชน) เพื่อเข้ามาเป็นผู้นำกระบวนการเรียนรู้ การถ่ายทอด การทดลองปฏิบัติของชุมชน เพื่อให้เกิดห้องปฏิบัติการทางสังคมที่มีชีวิต มาจากวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง

ผลความอยู่รอดระดับครัวเรือนในจังหวัดน่าน เกิดจากการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตร เกิดพื้นที่รับประโยชน์ 20,411 ไร่ ผู้รับประโยชน์ 2,077 ครัวเรือน 7,928 คน รายได้ภาคเกษตรของเกษตรกร เฉลี่ยต่อครัวเรือน 92,645 บาทในปี 2563 จากเดิม 41,359 บาทในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า

โครงการปิดทองหลังพระฯน่านก้าวหน้าพัฒนาเป็น Social Lab
โครงการปิดทองหลังพระฯน่านก้าวหน้าพัฒนาเป็น Social Lab
โครงการปิดทองหลังพระฯน่านก้าวหน้าพัฒนาเป็น Social Lab
โครงการปิดทองหลังพระฯน่านก้าวหน้าพัฒนาเป็น Social Lab
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ