พระราชดำรัส”ความสามัคคี” สร้างความยั่งยืนแก่สังคมไทย

    "ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุดเพราะเป็นมรดกที่เราได้ศึกษาจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราดำรงประเทศชาติและเอกราชสืบมาได้ทุกคนจะต้องรักษาความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง" 

    ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 เมื่อสิงหาคม 2512 ได้ทรงพระราชทานแด่สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีอัญเชิญในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การสร้างความยั่งยืนให้กับความเป็นไทย” ในการประชุม "การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ ของกระทรวงมหาดไทย"  

    องคมนตรียังได้ย้ำว่า “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือหลักคิดนำทางสร้างความยั่งยืนความเป็นไทย 
    ในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง“การสร้างความยั่งยืนให้กับความเป็นไทย” ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษมกล่าวว่า ปัจจัยหลักที่สร้างลักษณะเฉพาะให้แก่ชนชาติหรือประเทศชาติ ว่ามีอยู่ 3 ปัจจัย คือ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการทำงานร่วมกับชุมชนนั้น แต่ละชุมชนก็จะมีลักษณะเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน 
    ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้คำว่า "ภูมิสังคม" ในการทำงานพัฒนาพื้นที่ หากได้นำหลักนี้ไปเป็นแนวทาง ก็จะเข้าใจประชาชนได้อย่างลึกซึ้ง ด้วยคำว่า "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" หมายความว่า  การ "เข้าใจ" ต้องเข้าใจกันทั้ง 2 ทาง ทั้งข้าราชการและผู้เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนา และชุมชน การ "เข้าถึง" ก็คือสามารถเข้าถึงกันได้ทั้งสองทาง ไม่ว่าจะเป็นราชการเข้าหาชุมชน หรือชุมชนเข้ามาหาทางการ หากทำได้ครบทั้ง 2 ทางแล้วถึงจะร่วมกัน "พัฒนา" ได้
    ตัวอย่างประวัติกลุ่มชนไท จากการอ้างอิงถึงผลการวิจัยเชิงวัฒนธรรมกลุ่มคนไทนอกประเทศไทย โดยศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา กลุ่มคนที่พูดภาษาไท 100 กว่าล้านคน มีกลุ่มหลักอยู่ในประเทศไทย 63 ล้านคน ที่เหลือแบ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใน ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศจีน ประเทศพม่า และประเทศอินเดีย 

    คนไทเป็นกลุ่มคนที่ปลูกข้าวกิน โดยเฉพาะนาดำ อ้างอิงจากงานวิจัยของ รศ. สุรพล นาถะพินธุ ว่า ชาวไทปลูกข้าวกว่า 8,000 ปีมาแล้วทางตอนใต้ของจีน และไม่ว่าจะอพยพไปที่ไหน ก็จะต้องไปอาศัยบริเวณที่มี น้ำ เพื่อจุดประสงค์ในการปลูกข้าว เป็น “วัฒนธรรมน้ำ” และเลี้ยงปลา เกิดเป็น "วัฒนธรรมข้าว-ปลา" 
    นอกจากนี้ยังมี ความเชื่อด้าน พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ผี ขวัญ ผู้เถ้าผู้แก่ และเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ต่อมาคือ จิตวิญญาณของความเป็นไทยที่สำคัญ คือ ระดับครอบครัว ต้องมีความกตัญญูรู้คุณ และรู้จักการตอบแทนคุณ ระดับชุมชนเข้มแข็ง คือการมีความมีน้ำใจต่อการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และระดับเมือง มีความจงรักภักดี มีความสามัคคีของชนเผ่าไท 

    “สรุปลักษณะร่วมของคนไท คือ ระบบครอบครัวและเครือญาติใกล้ชิด ชุมชนเข้มแข็ง จิตใจอันดีงามของผู้คน และระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงพึ่งตนเองในครอบครัวและชุมชน”
    หลักคิดและแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนทั้งของไทยและสากล 3 ประการ โดยหลักแรกคือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้คนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2540 และชาวต่างชาติได้ยอมรับแล้วว่าเป็นทฤษฎีเพื่อความยั่งยืน และเป็นแนวคิดเพื่อรับมือหรือแก้วิกฤตได้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Resilience) จากพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2493
    พระบรมราโชวาท "ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุดเพราะเป็นมรดกที่เราได้ศึกษาจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราดำรงประเทศชาติและเอกราชสืบมาได้ทุกคนจะต้องรักษา
ความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง" อันหมายถึงว่าให้คนไทยรักษาไว้ซึ่ง "ความเป็นไทย" และมี "ความสามัคคี"
    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม ยกได้ยกพระราชดำรัส ในโอกาสที่รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการที่โรงเรียนร่มเกล้า บ้านคลองทราย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2524 ความว่า
    "...การพัฒนานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจทั้งสองอย่างคือจิตใจที่หวงแหนที่ดินทำกินของเรา หวงแหนพื้นแผ่นดินของเรา และจิตใจที่จะต้องช่วยเหลือกันทุกคนเป็นสมาชิกของประเทศคือชาวไทยทุกคน..." และ การ "ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง" ที่ได้เคยมีพระราชดำรัสไว้ว่า "การสร้างคนดีนั้นเป็นเรื่องที่ยากและยาวแต่ก็ต้องทำ ขอให้ถือเป็นหน้าที่"
    คนดี คือ คนที่พึ่งตนเองได้ ใน 3 ด้าน ได้แก่ การพึ่งตนเองด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็งมีจิตสำนึกที่ดีสร้างสรรค์ให้ตนเองและส่วนรวม การพึ่งตนเองด้านสังคม คือมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ เน้นมุ่งลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้อยู่ได้ด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน โดยในหัวข้อคนดีนี้  ให้ช่วยกันดูแลและแนะนำเยาวชนในการใช้ Social Media อย่างถูกต้อง ไม่ให้ถูกชักนำไปในทางที่ไม่ดี  

    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น  แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวและระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ  เป็นทางสายกลาง และมีหลักสำคัญคือ ความพอประมาณ มีเหตุผล
และไม่กระทบต่อภูมิคุ้มกันด้านต่างๆ เงื่อนไขก่อนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ประกอบด้วย 1.การฝึกฝนจิตใจให้มีคุณธรรมซื่อสัตย์สุจริต (training of moral code - honesty) 2.การรู้จริง ใช้ความรู้ทั้งขั้นวางแผนและขั้นปฏิบัติ (knowledgeable in planning and execution) 3.มีความขยันอดทนรอบคอบ (diligence - patience - thoughtfulness)
    หลักคิดและแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนของสากล คือ  SDG 17 ข้อ ที่สหประชาชาติกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเวลา 15 ปี ในช่วง ค.ศ. 2016 ถึง 2031  และหลัก ESG (Environment, Social, Governance) 3 ปัจจัยหลักที่จำแนกมาจาก SDGs เพื่อความยั่งยืน คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) ปัจจัยด้านคนและสังคม (Social factors) และปัจจัยด้านธรรมาภิบาล (Governance factors) 
    “หากนำหลักคิดเหล่านี้ไปถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้อง เชื่อได้ว่าเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติจะมีแนวทาง “สร้างความยั่งยืนให้กับความเป็นไทย” ได้ในอนาคต”

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ