โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ

โครงการในพระราชดำริอีกโครงการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมขังจนใช้เพาะปลูกไม่ได้ เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวกลับมามีประโยชน์ทางการเกษตรได้อีกครั้ง สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พื้นที่ลุ่มหลายแห่งไม่มีศักยภาพปลูกพืชได้ เพราะมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มคล้ายแอ่งรับน้ำที่ไหลลงมาจากที่สูงหรือจากลำน้ำเข้าไปเก็บขังไว้ แล้วไม่อาจระบายน้ำทิ้งออกไปได้หมดตามธรรมชาติ จนเกิดน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากทางภาคใต้

การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม นอกจากจะเกิดประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว พื้นที่ในเขตชุมชนซึ่งมีระดับต่ำและไม่มีระบบระบายน้ำที่สมบูรณ์ ก็จะช่วยกำจัดน้ำขังให้ออกไปจากพื้นที่ และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของประชาชน ยามที่ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ได้ โดยในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม มีงานสำคัญที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ งานขุดหรือปรับปรุงคลองระบายน้ำภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มให้ระบายน้ำจำนวนมากออกจากพื้นที่ ไปยังลำน้ำสายใหญ่หรือทะเลได้อย่างสะดวก กระทั่งพื้นที่ที่เคยเจิ่งนองไปด้วยน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชได้อีกครั้ง

นอกจากงานขุดหรือปรับปรุงคลองระบายน้ำที่กล่าวไปต้นแล้ว ที่ปลายคลองระบายน้ำแต่ละสาย ยังควรมีการก่อสร้างอาคารประตูหรือท่อระบายน้ำ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการเก็บกักน้ำไว้ในคลองและป้องกันการไหลย้อนของน้ำจากด้านนอกขณะที่มีระดับสูง นอกจากนั้น หากเป็นพื้นที่ในเขตชุมชนหรือพื้นที่เพาะปลูกที่มีความสำคัญมาก อาจต้องมีการพิจารณาก่อสร้างโรงสูบน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสูบน้ำภายในพื้นที่ออกในตอนที่ระดับน้ำภายนอกขึ้นสูงอีกด้วย อย่างไรก็ดี การพิจารณาว่าจะสร้างโรงสูบน้ำหรือไม่สร้างนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเป็นสำคัญ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ