โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบ COVID-19

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบ COVID-19

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติของโลกและประเทศและ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในระดับฐานราก สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จึงได้นำความรู้ ประสบการณ์และผลสัมฤทธิ์ของการทำงานตลอดระยะเวลา 11 ปี ดำเนิน “โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบ COVID-19” เพื่อขยายผลการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนา แผนแม่บท ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และจะเป็นทางออกให้กับสังคมและประเทศชาติได้อย่างแท้จริง

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบ COVID-19 ยึดแนวทางบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีในรูปแบบ 4 ประสาน คือ ราชการ เอกชน ประชาชน และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ในฐานะผู้ริเริ่มและประสานแผนงาน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ ให้ชุมชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งและได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีรายได้จากอาชีพการเกษตรหลังมีน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ว่างงานจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ให้มีรายได้ และเพื่อให้ผู้ว่างงานได้เรียนรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดยฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ และจะเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคต

การดำเนินงานโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบ COVID-19 เน้นการซ่อมแซม ปรับปรุง เสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่เดิมภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคนในชุมชนที่ได้รับประโยชน์จะต้องมาร่วมสละแรงงานลงมือทำ ปิดทองหลังพระฯ จะจัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุน และจัดจ้างแรงงานว่างงานจากผลกระทบของ COVID – 19 ให้มาเป็นผู้ประสานงาน ติดตามสนับสนุน และร่วมปฏิบัติการกับชุมชนตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน จนกระทั่งถึงการพัฒนาโครงการต่อยอดอาชีพ หลังมีระบบน้ำ เพื่อให้มีการนำน้ำไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ได้ดำเนินการโครงการมาแล้ว 2 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะที่ 1 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะการว่างงานที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ในพื้นที่ต้นแบบ 3 จังหวัดภาคอีสาน คือ อุดรธานี ขอนแก่น และกาฬสินธุ์
  2. ระยะที่ 2 โครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่ต้นแบบ 9 จังหวัด คือ น่าน อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุทัยธานี เพชรบุรี ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

    ผลการดำเนินงาน “โครงการโควิดปิดทองหลังพระฯ” ทั้ง 2 ระยะ สรุปดังนี้
    • 1. . มีการซ่อมแซมและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็ก รวม 646 โครงการ ใน 9 จังหวัด
    • 2. มีปริมาณน้ำกักเก็บ รวม 122.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
    • 3. มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 43,549 ครัวเรือน
    • 4. มีพื้นที่รับประโยชน์จากระบบน้ำ 204,218 ไร่
    • 5. มีการจ้างงานผู้ว่างงาน 960 คน มูลค่าการจ้างงาน 39.6 ล้านบาท
    • 6. รายได้(คาดการณ์) ของเกษตรกร 1,430 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินลงทุน 5.82 เท่าจากการใช้งบประมาณดำเนินโครงการทั้ง 2 ระยะ รวม 245.40 ล้านบาท

ผลการประเมินความพึงพอใจของแรงงานที่จ้างในโครงการ (ผู้ว่างงาน 960 คน) พบว่าร้อยละ 92 หรือ 883 คน มีความประสงค์อยู่ต่อในภูมิลำเนา ร้อยละ 81 หรือ 778 คน มีความเข้าใจในแนวพระราชดำริ และร้อยละ 58 หรือ 557 คน มีความประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเป็นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด รวดเร็ว วัดผลได้ และก่อเกิดประโยชน์สูงสุดที่ประชาชน ก่อให้เกิด 3 ประโยชน์ คือ เกิดระบบกระจายน้ำเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของอาชีพเกษตร เกิดธุรกิจใหม่ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาด และเกิดความรู้เพื่อให้ท้องถิ่นและชุมชนพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ปัจจุบัน สถาบันฯ อยู่ระหว่างการขยายผลการดำเนินงานในระยะที่ ๓” ในพื้นที่แล้งซ้ำซากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (พื้นที่ลุ่มน้ำมูล) ๙ จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากในชุมชน ตามหลักการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนำไปสู่การพึ่งพากันเองในชุมชนและเชื่อมโยงกับสังคมภายนอก ตามแนวทางโครงการต่อไป

Nan

Nan

Udon Thani

Udon Thani

Kalasin

Kalasin

Phetchaburi

Phetchaburi

Uthai Thani

Uthai Thani

Khon Kaen

Khon Kaen

3 southern
border provinces

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 northern
border provinces

3 จังหวัดชายแดนเหนือ